มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 10/2547
มติที่ 159/2547
เรื่อง การกำหนดยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาสภาพวัดร้าง
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๗ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ……………………………………....………... เรื่อง การกำหนดยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาสภาพวัดร้าง ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๗ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประชุมร่วมกับพระ- สังฆาธิการและผู้เกี่ยวข้องใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้กำหนดยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาสภาพวัดร้างที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมีพระภิกษุและสามเณรบางส่วนย้ายออกจากวัดที่พำนัก เพราะไม่แน่ใจในความปลอดภัยจากสถานการณ์การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่ โดยการจัดให้มีพระธุดงค์ไปพำนักตามวัดดังกล่าว รวมทั้งการจัดโครงการธรรมสัญจรไปยังชุมชนชาวพุทธอีกหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลจากวัด เพื่อความสะดวกในการอบรม เผยแผ่ การประกอบศาสนกิจ และเป็นหลักยึดมั่นทางจิตใจ โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติร่วมดำเนินการกับคณะสงฆ์และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการประชุมผู้แทนผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสภาพวัดร้าง เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๗ ณ วัดธรรมบูชา อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ประชุมประกอบด้วย ๑. พระเทพวราจารย์ รองเจ้าคณะภาค ๑๖–๑๗–๑๘ (ธ) ๒. พระครูธรรมธร นิพล โชตโก วัดทุ่งข่อย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ๓. พ.อ.ประชุม สุขสำราญ อนุศาสนาจารย์ ผู้แทนกองทัพภาคที่ ๔ ๔. นายพิทักษ์ คงปาน ผู้ประสานงาน คณะทำงานติดตามการปฏิบัติราชการประจำพื้นที่ เขต ๑๑ สำนักนายกรัฐมนตรี ๕. นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนสถาน ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นการจัดให้มีพระธุดงค์ไปพำนักตามวัดต่าง ๆ ที่มีสภาพเป็นวัดร้าง และแนวทางการจัดโครงการธรรมสัญจร ดังนี้ - ๒ - แผนการปฏิบัติ ๑. รับสมัครและฝึกพระวิทยากรโดยเน้นคนในพื้นที่ เนื่องจากสามารถสื่อสาร ทำความเข้าใจกับชุมชน เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณี และจะต้องเป็นผู้มีความกล้าหาญ อดทน เสียสละ ๒. พระวิทยากรที่ได้รับการฝึกอบรมและทดสอบผลแล้ว จะทำหน้าที่ประสานและดูแลพระใหม่ในวัดที่ถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ สร้างความเข้าใจกับชาวบ้านและผู้นำในพื้นที่ ๓. ให้การอบรม สั่งสอน เผยแผ่แก่พุทธศาสนิกชน โดยไม่สร้างความรู้สึกการแข่งขันหรือเปรียบเทียบและการต่อต้าน ๔. สร้างศาสนสัมพันธ์และความเป็นอยู่ร่วมกันที่ดีระหว่างชุมชน ๕. กองทัพภาคที่ ๔ จะสนับสนุนโดยการนำกำลังพลที่อาสาสมัครมาบวชในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๒ พรรษา และนำพระภิกษุดังกล่าวส่วนหนึ่งมาฝึกเป็นพระวิทยากร อีกส่วนหนึ่งส่งไปอยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งการจัดกำลังให้ความคุ้มครองดูแลแก่คณะสงฆ์ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๖. ได้มีการประสานและอธิบายหลักการปฏิบัติแผนดังกล่าว ต่อผู้นำทางศาสนาอิสลาม ซึ่งได้รับทราบ เข้าใจ และให้ความสนับสนุน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการนำธรรมะสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน มิใช่เป็นการนำอาวุธมาสร้างความหวาดระแวง หรือความไม่ไว้ใจ ๗. จะมีการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีหลายพื้นที่ ที่ต้องได้รับการเข้าไปฟื้นฟู และสร้างการยอมรับ สร้างจิตสำนึกใหม่ ๘. มีการประเมินผลการปฏิบัติทุกปี งบประมาณ ๑. รถยนต์ ๑ คัน และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงรวมค่าบำรุงรักษา ๒. ค่าใช้จ่ายสำหรับพระวิทยากร ๑๐ รูป ประมาณ ๘๐,๐๐๐. - บาท ต่อเดือน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. มีพระวิทยากร และพระสงฆ์จำนวนเพิ่มมากขึ้น และกระจายอยู่ตามพื้นที่ทั่วไป ๒. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างศาสนิกชน ๓. สร้างความเข้มแข็งต่อสถาบันพระพุทธศาสนา - ๓ - ๔. สร้างจิตสำนึก ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมที่ดีต่อประชาชน เพื่อการอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข ข้อเสนอแนะ ๑. จัดตั้งคณะทำงาน โดยมี พระครูธรรมธร นิพล โชตโก รับผิดชอบในการปฏิบัติ ๒. เสนอตั้งที่ปรึกษา ประกอบด้วย ๒.๑ ผู้แทนมหาเถรสมาคม ๒ รูป ๒.๑.๑ พระธรรมสิทธิเวที ๒.๑.๒ พระธรรมวรเมธี ๒.๒ เจ้าคณะภาค ๑๖–๑๗–๑๘ (ธ) ๒.๓ เจ้าคณะภาค ๑๗ และ ๑๘ ๒.๔ รองเจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ (ธ) ๒.๕ รองเจ้าคณะภาค ๑๗ และ ๑๘ ๒.๖ กองทัพภาคที่ ๔ ๒.๗ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๓. เสนอให้มีการตั้งไวยาวัจกรภายในวัด เพื่อให้การช่วยเหลือ ประสานการดำเนินงานของวัด ๔. เสนอให้กองทัพภาคที่ ๔ จัดส่งอนุศาสนาจารย์เข้าร่วมปฏิบัติงานในแผนงานดังกล่าว ๕. จัดส่งหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย (เขียนโดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ) จำนวน ๓๐ เล่ม สำหรับนำไปแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อใช้อธิบายหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ตามที่ได้รับการแจ้งประสานจากผู้นำทางศาสนาอิสลาม ๖. กำหนดให้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เป็นการใช้หลักธรรมเข้านำสู่ประชาชน โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหลักยึดมั่น มิใช่การมุ่งเอาชนะกันด้วยการใช้อาวุธ สำนักงานพระพุทธศาสนาเห็นควรนำแผนยุทธศาสตร์นี้เสนอมหาเถรสมาคม เพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ - ๔ - ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมายให้สำนักงานพระพุทธ-ศาสนาแห่งชาติดำเนินการ เพื่อให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ จึงลงมติให้ความเห็นชอบตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ พลตำรวจโท (อุดม เจริญ) เลขาธิการมหาเถรสมาคม
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF00392551_00140.pdf (132.36 kb)
จำนวนเข้าดู : 1082
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00