มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 23/2546
มติที่ 428/2546
เรื่อง รายงานผลการทำสังฆพิจารณ์ เรื่องสถานภาพของเจ้าอาวาส และขอความกรุณาพิจารณาแก้ไขกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๓/๒๕๔๖ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ . เรื่อง รายงานผลการทำสังฆพิจารณ์ เรื่องสถานภาพของเจ้าอาวาส และขอความกรุณา พิจารณาแก้ไขกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้ง ถอดถอนพระสังฆาธิการ ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๓/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๖ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม แจ้งว่า ได้รับหนังสือจาก นายอดิศักดิ์ วรรณสิน นายกสมาคมพุทธศาสน์สัมพันธ์ ความว่า สืบเนื่องจากมีบุคคลบางคนเข้าใจผิดคิดว่าเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา และได้มีการออกมาให้ความเห็นในทำนองว่า จะให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเข้าตรวจสอบการเงินของวัด หากพบว่ามีการกระทำที่ผิดระเบียบข้อใดข้อหนึ่ง เจ้าอาวาสวัดนั้นจะมีความผิดในฐานะเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปี ถึง ๑๐ ปี หรือปรับตั้งแต่ สองพันบาท ถึง สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทางสมาคมพุทธศาสน์สัมพันธ์เห็นว่า เรื่องนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเจ้าอาวาสทั่วประเทศอย่างรุนแรง จึงได้ทำแบบสอบถามสังฆพิจารณ์ไปยังเจ้าคณะ- พระสังฆาธิการทั่วประเทศ โดยเริ่มส่งจดหมายออกไปเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ และเป็นที่น่าปีติยินดีที่พระสังฆาธิการทั่วประเทศต่างตื่นตัวแสดงความเห็นกลับมาอย่างคับคั่ง รวมจำนวนถึง ๔,๓๕๕ ฉบับ (นับถึงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๖) แบ่งเป็น - ๒ - เจ้าคณะภาค ๔ รูป เจ้าคณะจังหวัด ๑๒ รูป เจ้าคณะอำเภอ ๗๙ รูป เจ้าคณะตำบล ๗๑๘ รูป เจ้าอาวาส ๓,๓๒๘ รูป อื่น ๆ เช่น เลขานุการเจ้าคณะปกครอง ๒๑๔ รูป โดยพระสังฆาธิการ ๔,๓๕๕ รูป มีความคิดเห็นต่อประเด็นการสอบถามดังนี้ ๑. เจ้าอาวาสไม่ใช่ผู้ปกครองคณะสงฆ์ แต่เป็นเพียงผู้ปกครองวัด มีอำนาจหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ได้ระบุให้อำนาจไว้แล้วอย่างชัดเจน เจ้าอาวาสจึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน ดังนั้น ผู้ที่ไม่ใช่ผู้เสียหายจะไปแจ้งความกล่าวโทษเจ้าอาวาสไม่ได้ - เห็นด้วย ๔,๓๐๒ รูป เท่ากับ ๙๘.๗๘ % - ไม่เห็นด้วย ๕๓ รูป เท่ากับ ๑.๒๒ % ๒. ควรมีการระบุลงไปในกฎหมายหรือกฎมหาเถรสมาคมอย่างชัดเจนว่า เจ้าอาวาสไม่ใช่เจ้าพนักงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องถกเถียงกันอีกต่อไปว่า เจ้าอาวาสเป็น เจ้าพนักงานหรือไม่ - เห็นด้วย ๔,๒๙๕ รูป เท่ากับ ๙๘.๖๒ % - ไม่เห็นด้วย ๖๐ รูป เท่ากับ ๑.๓๘ % ผู้ที่ไม่เห็นด้วยส่วนใหญ่เป็นเพราะเข้าใจผิดคิดว่า ถ้าเจ้าอาวาสเป็นเพียง ผู้ปกครองวัด จะทำให้มีหน้าที่อยู่เฝ้าวัดอย่างเดียว ซึ่งความจริงการเป็นผู้ปกครองวัดมีหน้าที่รวมทั้งการปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร แม่ชี ศิษย์วัด ดูแลทรัพย์สินศาสนสมบัติของวัด ดูแลกิจการของวัดทุก ๆ อย่าง ตามที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘ ให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันวัดจำนวนมากมีพระภิกษุอยู่เพียงรูปเดียว เจ้าอาวาสวัดนั้น ๆ ย่อมจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ไปไม่ได้เลย เพราะไม่มีคณะสงฆ์ให้ปกครอง แม้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็ให้คำนิยามความหมายของคำว่า เจ้าอาวาส ว่าหมายถึง พระที่ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองวัด หากมหาเถรสมาคมกรุณาแก้ไขเพิ่มเติม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ โดยนิยามความหมายของพระสังฆาธิการด้วยการระบุตำแหน่งไปเลยว่าหมายถึงพระภิกษุ - ๓ - ผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ได้แก่ เจ้าคณะ รองเจ้าคณะ ระดับต่าง ๆ และพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองวัด ได้แก่ เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส โดยไม่ต้องระบุว่าเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ ก็จะทำให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของวัดมากแห่งที่มีพระภิกษุเพียงรูปเดียว ดังกล่าวแล้ว และทำให้หายสับสน เกิดความกระจ่างชัดเจนว่า เจ้าอาวาสไม่ใช่เจ้าพนักงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อการทำหน้าที่บำรุงรักษา ปกครองวัดของเจ้าอาวาสวัดทั่วประเทศเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับมีบัญชาให้นำเสนอมหาเถรสมาคม ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติว่า การตีความและการแก้ไขพระราชบัญญัติ-คณะสงฆ์ ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม และให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำเรื่องนี้เสนอ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ผู้กำกับดูแลสำนักงาน-พระพุทธศาสนาแห่งชาติ พิจารณา (นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์) เลขาธิการมหาเถรสมาคม
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF00292551_00041.pdf (116.81 kb)
จำนวนเข้าดู : 1937
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00