มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 04/2548
มติที่ 80/2548
เรื่อง รายงานผลการประชุม Dialogue on Interfaith Cooperation ที่ประเทศอินโดนีเซีย
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๔/๒๕๔๘ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ .............................................................. เรื่อง รายงานผลการประชุม Dialogue on Interfaith Cooperation ที่ประเทศอินโดนีเซีย ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ แจ้งขอความร่วมมือให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติอาราธนาพระสงฆ์ ผู้แทนมหาเถรสมาคม จำนวน ๑ รูป เข้าร่วมประชุม Dialogue on Interfaith Cooperation ระหว่างวันที่ ๖ - ๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ ที่เมืองย๊อกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๓๐/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ที่ประชุมลงมติให้ พระเทพ-ญาณกวี วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคมไปร่วมประชุม ณ สถานที่และวันดังกล่าว นั้น บัดนี้ การประชุมได้เสร็จสิ้นแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับรายงานผลการประชุมจากกระทรวงการต่างประเทศ มีสาระสำคัญสรุป ดังนี้ ๑. ประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียได้ร่วมกันจัดการประชุมครั้งนี้ โดยมีวัตถุ-ประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์และความร่วมมือระหว่างกลุ่มศาสนาต่าง ๆ ในภูมิภาค รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มศาสนิกสายกลางให้มีบทบาทในการส่งเสริมสันติภาพ และต่อต้านภัยคุกคามที่โลกกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะเรื่องภัยจากการก่อการร้าย ๒. ผู้จัดได้เชิญผู้แทนจาก ๑๔ ประเทศ ๆ ละ ๑๐ คน ประกอบด้วยประเทศ-อาเซียน ๑๐ ประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี และติมอร์เลสเต โดยทุกประเทศได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม ยกเว้นประเทศมาเลเซียที่มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย ณ กรุงจาการ์ตา เป็นผู้สังเกตการณ์ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น จำนวน ๑๒๔ คน ๓. การประชุมครั้งนี้ มีบุคคลสำคัญของประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลีย จำนวน ๕ คน กล่าวสุนทรพจน์เสนอเน้นให้ผู้นำศาสนาต่าง ๆ มีบทบาทในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนา เพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่โลกกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยจาก - ๒ - การก่อการร้าย นอกจากนี้ ผู้แทนแต่ละประเทศได้เสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ระหว่างศาสนาต่าง ๆ ในประเทศของตนและในภูมิภาค พร้อมกับให้มีการเสวนาระหว่างผู้นำศาสนาทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์มีใจความโดยสรุปว่า การประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ระหว่างศาสนาต่าง ๆ ในภูมิภาค ผู้นำ/นักวิชาการทางศาสนาควรสนับสนุนสันติภาพและความเท่าเทียมทางศาสนาและวัฒนธรรมโดยการใช้การศึกษาเป็นสื่อ ๔. ข้อสังเกต ๔.๑ อินโดนีเซียได้ให้ความสำคัญการประชุมครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซียได้เดินทางมากล่าวเปิดงานด้วยตนเอง ๔.๒ การที่มาเลเซียไม่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ อาจเป็นเพราะไม่พอใจต่อการที่ นายยูซุฟ คัลลา รองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้ให้การต้อนรับนาย อันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในช่วงดังกล่าว ๕. ข้อคิดเห็น ๕.๑ การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะทั้งฝ่ายอินโดนีเซียและออสเตรเลียมีความเห็นร่วมกันว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียสาเหตุมาจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อความสงบและเสถียรภาพทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของอินโดนีเซียแล้ว ยังกระทบต่อผลประโยชน์ของออสเตรเลียในอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก ๕.๒ แม้ผู้จัดจะเน้นอย่างมากว่า การประชุมครั้งนี้เป็น Track II โดยไม่อนุญาตให้ผู้แทนจากภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วม แต่ภาครัฐ (กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลีย) ก็ได้ดำเนินการประชุมทั้งด้านพิธีการและด้านสารัตถะเองทั้งหมด โดยเฉพาะด้านสารัตถะ (หัวข้อและวิธีการดำเนินการ) จะถูกชี้นำโดยภาครัฐ (Track I) ๕.๓ การประชุมครั้งนี้ แม้จะมีผู้นำศาสนาบางคนมีความรู้สึกว่า ศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือของภาครัฐ แต่หากการใช้ศาสนาไปในทางที่จะก่อให้เกิดสันติสุขและการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ก็น่าจะให้การสนับสนุน ๖. ข้อพิจารณา โดยที่ผู้นำศาสนาจากบางประเทศ โดยเฉพาะจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์บางคนมีความเชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาทางศาสนา ภาครัฐอาจจะให้การสนับสนุนองค์กรทางศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทยในการจัดประชุมเสวนาระหว่างผู้นำ/นักวิชาการ - ๓ - ทางศาสนาเกี่ยวกับบทบาทของศาสนาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะได้ร่วมกันประกาศยืนยันว่า ประเทศไทยมีความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาต่าง ๆ ไม่มีปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างกัน ซึ่งอาจจะช่วยลดกระแสความรุนแรงและความขัดแย้งทางศาสนาที่คนกลุ่มหนึ่งพยายามสร้างขึ้นใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ของไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ ที่ประชุมรับทราบ และให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ (นายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์) เลขาธิการมหาเถรสมาคม
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF00492551_00299.pdf (128.12 kb)
จำนวนเข้าดู : 815
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00