มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 18/2548
มติที่ 318/2548
เรื่อง ขอยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๘ วัด รวม ๕ จังหวัด
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๘/๒๕๔๘ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ . เรื่อง ขอยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๘ วัด รวม ๕ จังหวัด เรียน ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนสถาน ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๘/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า จังหวัดพิษณุโลก พะเยา ลำพูน เชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย ได้ส่งรายงานการขอยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา รวม ๘ วัด โดย พระศรีสมโพธิ ผู้แทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงาน-พระพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ นางฐิติรัตน์ ลำดวน นางสาลี่ ทองธาระ และนายพยงค์ สีเหลือง ได้ไปตรวจสอบแล้ว มีความเห็นสรุปดังนี้ ๑. วัดโพธิ์ไทรย้อย (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านนาลานข้าว หมู่ที่ ๒ ตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ที่ดินของวัดมีจำนวน ๔ ไร่ ๑ งาน ๘๐ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิที่ดิน น.ส. ๓ ก เลขที่ ๖๙๔ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๘ หลัง วิหาร โรงครัว และห้องน้ำ - ห้องสุขา ๒ หลัง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๘ รูป ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ไม่มีวัดภายในระยะ ๑๐ กิโลเมตร - ทิศใต้ ห่างจากวัดนาเมือง ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร - ทิศตะวันออก ห่างจากวัดนาทุ่งใหญ่ ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร - ๒ - - ทิศตะวันตก ไม่มีวัดภายในระยะ ๑๐ กิโลเมตร มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๑,๒๐๐ คน เหตุผลกรณีมีที่ดินไม่ถึง ๖ ไร่ ๑. ปัจจุบันมีที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ อปต. มอบให้วัดดูแล จำนวน ๑๗ ไร่ ซึ่งวัดสามารถใช้ประโยชน์ได้ และได้สร้างฌาปนสถานไว้ในที่ดินแล้ว ๒. ที่ดินโดยรอบวัดจดที่สาธารณประโยชน์ และที่เอกชนปลูกบ้านเรือนอาศัย ซึ่งไม่สามารถขยายได้ ๓. หมู่บ้านนาลานข้าว อยู่ไกลจากวัดนาเมือง เกินกว่า ๒ กิโลเมตร ทำให้ประชาชนมีความลำบากในการเดินทางไปบำเพ็ญกุศล ๒. วัดพระธาตุต้นฝาง (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำริน หมู่ที่ ๑๐ ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา ที่ดินของวัดมีจำนวน ๑๕ ไร่ ๘ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิที่ดิน โฉนดเลขที่ ๑๘๐๔๒ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาอเนกประสงค์ หอระฆัง กุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง และห้องน้ำ - ห้องสุขา ๒ หลัง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๕ รูป ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ห่างจากวัดสุจริตธรรม ประมาณ ๓ กิโลเมตร - ทิศใต้ ไม่มีวัดภายในระยะ ๑๐ กิโลเมตร - ทิศตะวันออก ไม่มีวัดภายในระยะ ๑๐ กิโลเมตร - ทิศตะวันตก ไม่มีวัดภายในระยะ ๑๐ กิโลเมตร มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๘๐๐ คน ๓. วัดแม่ยาก (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ยาก หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ที่ดินของวัดมีจำนวน ๗๒ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิที่ดิน โฉนดเลขที่ ๙๖๖๒๔ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย - ๓ - อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาอเนกประสงค์ ๓ หลัง กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง วิหาร โรงครัว และห้องน้ำ - ห้องสุขา ๑ หลัง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๕ รูป ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ห่างจากวัดขี้เหล็ก ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร - ทิศใต้ ห่างจากวัดร่องส้าว ประมาณ ๒ กิโลเมตร - ทิศตะวันออก ห่างจากวัดป่าม่วง ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร - ทิศตะวันตก ห่างจากวัดศรีคำ ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๘๐๐ คน เหตุผลกรณีมีที่ดินไม่ถึง ๖ ไร่ ปัจจุบันมีที่ดิน จำนวน ๗ ไร่ ๒ งาน ๔๙ ตารางวา ดังนี้ ๑. เป็นที่ดินของวัดแม่ยาก (ร้าง) เนื้อที่ ๗๒ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๙๖๖๒๔ ๒. นายตา พาหิรัญ จะบริจาคที่ดินเนื้อที่ ๑๒ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๙๐๔๗๔ และจะโอนเอกสารสิทธิให้เมื่อได้รับการยกขึ้นเป็นวัด มีพระภิกษุอยู่จำพรรษาแล้ว ๓. นายทา วงษ์ษาคม จะบริจาคที่ดินเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา และจะโอนเอกสารสิทธิให้เมื่อได้รับการยกขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่- จำพรรษาแล้ว ๔. เป็นที่ดินที่งอกออกมาจากลำน้ำแม่ยาก เนื้อที่ ๓ งาน ๑๕ ตารางวา ๔. วัดสันป่าแดง (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านแม่โฮม หมู่ที่ ๙ ตำบลต้นเปา อำเภอ สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินของวัดมีจำนวน ๒ ไร่ ๒ งาน ๘๓ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิที่ดิน โฉนดเลขที่ ๘๖๗๓ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย - ๔ - อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาอเนกประสงค์ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๒ หลัง วิหาร และห้องน้ำ - ห้องสุขา จำนวน ๒ หลัง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๕ รูป ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ห่างจากวัดสันมะฮกฟ้า ประมาณ ๓ กิโลเมตร - ทิศใต้ ห่างจากวัดต้นกวาว ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร - ทิศตะวันออก ห่างจากวัดบ้านน้อย ประมาณ ๕ กิโลเมตร - ทิศตะวันตก ห่างจากวัดสันป่าค่า ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๗๐๐ คน เหตุผลกรณีมีที่ดินไม่ถึง ๖ ไร่ ๑. เพื่อรองรับชุมชนที่หนาแน่น คือ หมู่บ้านเอื้ออาทร ๒. เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น ๓. ที่ดินของวัดติดกับที่ของเอกชน แต่มีโครงการที่จะขยายที่ดิน- ให้ถึง ๖ ไร่ ๕. วัดบ่อหิน (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเหนี่ยง หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินของวัดมีจำนวน ๔ ไร่ ๓ งาน ๔ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิที่ดิน โฉนดเลขที่ ๔๔๙๒ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาอเนกประสงค์ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง วิหาร ๒ หลัง โรงครัว และห้องน้ำ - ห้องสุขา มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๕ รูป สามเณร จำนวน ๕ รูป ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ห่างจากวัดบวกค้าง ประมาณ ๓.๔ กิโลเมตร - ทิศใต้ ห่างจากวัดร้องกองข้าว ประมาณ ๒.๔ กิโลเมตร - ทิศตะวันออก ห่างจากวัดสันต้นม่วง ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร - ๕ - - ทิศตะวันตก ห่างจากวัดกอสะเรียม ประมาณ ๒ กิโลเมตรมีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๔๐๐ คน เหตุผลกรณีมีที่ดินไม่ถึง ๖ ไร่ ๑. เป็นวัดเก่าแก่สร้างก่อน พ.ศ. ๒๔๘๔ ๒. ปัจจุบันมีที่ดินที่เป็นของวัดแต่ยังไม่ได้ออกโฉนด จำนวน ๒ งาน เมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นที่ดิน รวม ๕ ไร่ ๑ งาน ๔ ตารางวา ๖. วัดดอยถ้ำ (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านดอยถ้ำ หมู่ที่ ๙ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอ หางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินของวัดมีจำนวน ๒๗ ไร่ ๒ งาน ตามเอกสารสิทธิที่ดิน น.ส. ๓ เลขที่ ๓๕๑ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาอเนกประสงค์ ๔ หลัง กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง วิหาร ศาลาราย หอระฆัง หอฉัน โรงครัว และห้องน้ำ - ห้องสุขา มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๐ รูป ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ห่างจากวัดเวียงด้ง ประมาณ ๒ กิโลเมตร - ทิศใต้ ห่างจากวัดอรัณฑวัน ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร - ทิศตะวันออก ห่างจากวัดศาลา ประมาณ ๒ กิโลเมตร - ทิศตะวันตก ไม่มีวัด (ติดป่าสงวน) มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๗๐๐ คน ๗. วัดพระธาตุคือเวียง (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านสันป่าเมา หมู่ที่ ๑๓ ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ที่ดินของวัดมีจำนวน ๕ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิที่ดิน โฉนดเลขที่ ๕๔๗๒๖ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ เจดีย์บรรจุพระธาตุ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง และห้องน้ำ - ห้องสุขา จำนวน ๓ หลัง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๕ รูป สามเณร จำนวน ๔ รูป - ๖ - ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ห่างจากวัดแม่อ้อใน ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร - ทิศใต้ ห่างจากวัดแม่แก้วเหนือ ประมาณ ๒ กิโลเมตร - ทิศตะวันออก ห่างจากวัดแม่อ้อนอก ประมาณ ๒ กิโลเมตร - ทิศตะวันตก ไม่มีวัดภายในระยะ ๑๐ กิโลเมตร มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๑,๐๐๐ คน เหตุผลกรณีมีที่ดินไม่ถึง ๖ ไร่ ปัจจุบัน นายเฉลิม ใจยา ได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๒ แปลง คือ ๑. แปลงที่ ๑ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๒๖ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๕๔๗๒๓ ๒. แปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๓ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๕๔๗๒๔ รวมกันแล้วมีที่ดินมากกว่า ๖ ไร่ และเมื่อได้รับความเห็นชอบให้ยกขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุ-อยู่จำพรรษาแล้วจึงจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้วัดต่อไป ๘. วัดพระธาตุหัวกว๊าน (ร้าง) ตั้งอยู่ที่บ้านหัวกว๊าน หมู่ที่ ๑๕ ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่ดินของวัดมีจำนวน ๑๓ ไร่ ๑ งาน ๕๔ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิที่ดิน โฉนดเลขที่ ๑๘๔๔๕ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาคารเสนาสนะที่สร้างแล้ว คือ ศาลาการเปรียญ เจดีย์บรรจุพระธาตุ กุฏิ-สงฆ์ จำนวน ๓ หลัง วิหารจตุรมุข และห้องน้ำ - ห้องสุขา ๑ หลัง จำนวน ๑๒ ห้อง มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๐ รูป สามเณร จำนวน ๕ รูป ระยะห่างจากวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาในละแวกใกล้เคียง - ทิศเหนือ ห่างจากวัดบ้านแซว ประมาณ ๒ กิโลเมตร - ทิศใต้ ห่างจากวัดเกาะผาดำ ประมาณ ๒ กิโลเมตร - ๗ - - ทิศตะวันออก ติดภูเขา - ทิศตะวันตก ติดแม่น้ำโขง มีประชาชนให้การสนับสนุนทำนุบำรุงวัดประมาณ ๓,๗๐๐ คน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ควรสนับสนุนให้ยกวัดร้างทั้ง ๘ วัด ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาได้ การขอยกวัดร้าง จำนวน ๘ วัด ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติ-คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองและเจ้าคณะพระสังฆาธิการ เจ้าสังกัดตามลำดับ จนถึงเจ้าคณะใหญ่หนเหนือแล้ว พร้อมกับมีบัญชาให้นำเสนอมหาเถร-สมาคม ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบให้ยก ๑. วัดโพธิ์ไทรย้อย (ร้าง) หมู่ที่ ๒ ตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ๒. วัดพระธาตุต้นฝาง (ร้าง) หมู่ที่ ๑๐ ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา ๓. วัดแม่ยาก (ร้าง) หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ๔. วัดสันป่าแดง (ร้าง) หมู่ที่ ๙ ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ๕. วัดบ่อหิน (ร้าง) หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ๖. วัดดอยถ้ำ (ร้าง) หมู่ที่ ๙ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ - ๘ - ๗. วัดพระธาตุคือเวียง (ร้าง) หมู่ที่ ๑๓ ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๘. วัดพระธาตุหัวกว๊าน (ร้าง) หมู่ที่ ๑๕ ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงาน การประชุม จึงเรียนมาเพื่อดำเนินการต่อไป (นางจุฬารัตน์ บุณยากร) ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF00492551_00496.pdf (276.67 kb)
จำนวนเข้าดู : 843
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00