• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 20/2548

มติที่ 369/2548

เรื่อง ขอความเห็นชอบให้จัดทำประกันภัยอาคารศาสนสมบัติกลางและวัดร้าง

มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๔๘ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ………………………………………………………. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้จัดทำประกันภัยอาคารศาสนสมบัติกลางและวัดร้าง เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานศาสนสมบัติ ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๐/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๓๐ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๐ ว่า การประกันภัยเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้เช่าและไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ให้เช่าแต่ประการใด ฉะนั้น สัญญาเช่าอาคารนานปีรายใดที่เดิมกำหนดให้มีการประกันอัคคีภัยก็ให้เป็นไปตามสัญญานั้น เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา หรือจะพิจารณาจัดทำสัญญาเช่าอาคารใหม่ จึงสมควรให้งดการประกันอัคคีภัยสำหรับอาคารศาสนสมบัติกลางและวัดร้าง นั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ขอนมัสการว่า ในการจัดประโยชน์ ศาสนสมบัติกลางและวัดร้างในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งที่ดินและอาคารมีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยในส่วนของอาคารทั้งหมดจะเป็นกรรมสิทธิ์/ทรัพย์สินของ ศาสนสมบัติกลาง และในปัจจุบันทรัพย์สินของพระศาสนาในส่วนที่เป็นอาคารมีเพิ่มขึ้น จากเดิมเป็นอันมาก ประกอบกับการที่ประชาชนเพิ่มขึ้น ชุมชนมีความหนาแน่นขึ้น โอกาสที่จะเกิดอัคคีภัยจึงมีได้ง่ายขึ้น และจากการที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดหน่วยเคลื่อนที่เพื่อให้บริการแก่ผู้เช่านอกสถานที่ในลักษณะของ Mobile Unit ผู้เช่า ส่วนใหญ่เสนอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประสานให้บริษัทประกันภัยที่ผู้เช่าทำ /ประกันอัคคีภัย … - ๒ - ประกันอัคคีภัยอยู่มาให้บริการจัดต่ออายุกรมธรรม์ด้วย ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เช่าในส่วนนี้ได้ เนื่องมาจากสาเหตุดังนี้ ๑. ผู้เช่าทำประกันภัยกับหลายบริษัท ๒. อายุเริ่มต้นและสิ้นสุดของกรมธรรม์แต่ละฉบับไม่พร้อมกัน ๓. กรมธรรม์ส่วนหนึ่งยังมิได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับประโยชน์จาก “กรมการศาสนา” เป็น “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” ดังนั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า สำหรับอาคารศาสนสมบัติกลางและวัดร้างทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ควรมีการจัดทำประกันอัคคีภัย เพราะอาคารดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของพระศาสนา เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นทรัพย์สินดังกล่าว จะได้รับการคุ้มครองจากการประกันอัคคีภัย ถึงแม้ว่าการทำประกันอัคคีภัยดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้เช่า แต่เมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินส่วนพระศาสนาหากเกิดอัคคีภัยขึ้นจะมีมูลค่าแตกต่างกันมาก และเป็นการลดความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ (เบี้ยประกันอัคคีภัยที่ผู้เช่าจะต้องชำระจะแตกต่างกันไปตามมูลค่าของทรัพย์สิน) โดยกำหนดให้ผู้เช่าอาคารศาสนสมบัติกลางและวัดร้างทำประกันอัคคีภัยกับบริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมกัน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการพิจารณางบ-ประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ (พศป.) เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ แล้ว ที่ประชุมมีความเห็นดังนี้ ปัจจุบันอาคารที่เป็นทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และอาคารราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ จะต้องประกันอัคคีภัย ซึ่งอาคารของสำนักงานทรัพย์สิน-ส่วนพระมหากษัตริย์ ประกันอัคคีภัยกับ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด และอาคาร ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ ประกันอัคคีภัยกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด ดังนั้น อาคารของศาสนสมบัติกลางควรจะต้องมีประกันอัคคีภัย เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของพระศาสนา - ๓ - จึงมีมติควรให้จัดทำประกันภัยอาคารศาสนสมบัติกลางและวัดร้างกับบริษัทประกันภัยที่ รัฐบาลถือหุ้น ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพิจารณางบประมาณ-ศาสนสมบัติกางประจำ (พศป.) เสนอ และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม จึงเรียนมาเพื่อดำเนินการต่อไป (นางจุฬารัตน์ บุณยากร) ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : CCF00492551_00547.pdf (117.24 kb)

จำนวนเข้าดู : 1251

ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00

ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved
  • หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ