มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 10/2549
มติที่ 213/2549
เรื่อง การพิจารณาศึกษาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ . เรื่อง การพิจารณาศึกษาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๙ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เสนอขอปรับปรุงแก้ไขกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ข้อ ๔ ในกฎมหาเถรสมาคมนี้ พระสังฆาธิการ หมายถึงพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ดังต่อไปนี้... เป็น ในกฎ-มหาเถรสมาคมนี้ พระสังฆาธิการ หมายถึง พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้... นอกจากที่แก้ไข ขอให้เป็นไปตามข้อความเดิม เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเรื่องการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับสถานะของเจ้าอาวาส เพราะตำแหน่งเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส ไม่ใช่ตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ แต่เป็นเพียงตำแหน่งปกครองบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัดเท่านั้น ด้วยเหตุผลดังนี้ ๑. ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๓ การปกครองคณะสงฆ์ บัญญัติเฉพาะตำแหน่งเจ้าคณะ-ตำบลขึ้นไป ไม่มีตำแหน่งเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส แต่กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ กำหนดให้พระสังฆาธิการรวมถึงเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ จึงขัดแย้งกัน ๒. ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คณะสงฆ์ หมายถึงเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น ไม่เกี่ยวด้วยบรรพชิต คือ สามเณรและคฤหัสถ์ แต่ตามมาตรา ๓๗ ระบุว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่...ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต... เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต ... การที่กฎมหาเถรสมาคมกำหนดว่า พระสังฆาธิการรวมถึงเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วย-เจ้าอาวาส เป็นพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ จึงคลาดเคลื่อน - ๒ - ๓. ตามพระธรรมวินัย สงฆ์ หมายถึง พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป ดังนั้น พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ จึงต้องมีพระภิกษุในปกครองอย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป แต่วัดจำนวนมากมีพระภิกษุจำพรรษาไม่ถึง ๔ รูป การกำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์จึงขัดแย้งกับพระธรรมวินัย ขอให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคมพิจารณาแล้ว ขอเรียนดังนี้ ๑. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เคยมีหนังสือเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อพิจารณา กรณี สมาคมพุทธศาสน์สัมพันธ์ได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เกี่ยวกับเจ้าอาวาสประสบปัญหาถูกบังคับข่มขู่ให้ดำเนินการเอื้อประโยชน์แก่บุคคลบางคน โดยอ้างสถานภาพของเจ้าอาวาสว่า เป็นเจ้าพนักงาน ซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติที่เสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุคลากรในศาสนาอื่นซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน ตามหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๔๑๑/ลร.๔/๑๙๐ ลงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งสำนักงานพระพุทธ-ศาสนาแห่งชาติ ได้มีหนังสือเรียน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๖/๕๔ ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ว่า นับตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามา เผยแผ่ในประเทศไทย นักบวชในพระพุทธศาสนามีแต่พระภิกษุและสามเณรเท่านั้น มีภาระหน้าที่รับผิดชอบในด้านการศึกษาและเผยแผ่พระธรรมวินัยตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะเจ้าอาวาสวัด ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการปกครอง การที่กฎหมายได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ดังกล่าวไว้ก็เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์และการจัดการศาสนสมบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งอำนาจหน้าที่จะแตกต่างจากศาสนาอื่น ๆ ตามแต่สถานะของแต่ละศาสนา เจ้าอาวาสในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานจึงมีฐานะนอกเหนือจากบุคคลธรรมดาบางประการ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้มีผลในทางคุ้มครองและผลในทางควบคุมบุคคลผู้เป็นเจ้าพนักงาน ผลทั้งปวงที่ว่านี้จะมีได้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่การงานของบุคคลนั้น ๆ ประกอบกับเหตุผลในการออกพระราช-บัญญัติคณะสงฆ์ ก็เพื่อประสงค์จะคุ้มครองพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส เนื่องด้วยมีภาระหน้าที่ต้องบริหารจัดการวัด ซึ่งอาจถูกบุคคลภายนอกเข้ารบกวนหรือคุกคามได้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ ตรี ได้บัญญัติให้อำนาจหน้าที่มหาเถรสมาคมบริหารการปกครองคณะสงฆ์ โดยตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบียบ ออกคำสั่ง มีมติหรือออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้ และจะมอบอำนาจให้พระภิกษุรูปใด - ๓ - หรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการใดที่แต่งตั้ง เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนก็ได้ เพื่อให้การ-ปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การตรากฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ มหาเถรสมาคมได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี มาตรา ๒๐ ทวิ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (เดิมเป็นกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. ๒๕๐๙) (พ.ศ. ๒๕๒๑) ยกเลิกโดยกฎมหาเถร-สมาคม ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๖) แก้ไขเพิ่มเติมกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ เหตุผลในการประกาศใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๐๖) คือ เนื่องด้วยการปกครองคณะสงฆ์อันอยู่ในหน้าที่ของเจ้าอาวาส และเจ้าคณะชั้นต่าง ๆ ตามลำดับจะบังเกิดผลสมบูรณ์มีความเจริญรุ่งเรืองหรือบกพร่องเสียหายแก่คณะสงฆ์ย่อมอาศัยคุณสมบัติของผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญ ฉะนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งเจ้าอาวาส เจ้าคณะ และผู้รักษาการแทน จึงสมควรกำหนดโดยถือความรู้ความสามารถและความประพฤติเป็นหลักในการคัดเลือก สำหรับวิธีการแต่งตั้งควรจะต้องผ่านการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาโดยรอบคอบตามลำดับชั้น เพื่อให้ได้ผู้ปกครองคณะสงฆ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่ง ส่วนการถอดถอนจากตำแหน่งนั้น กำหนดให้มีจริยาพระสังฆาธิการไว้เป็นหลักปฏิบัติและเป็นหลักควบคุมลงโทษแก่พระสังฆาธิการผู้ประพฤติมิชอบ ส่วนวิธีการลงโทษก็ผ่านการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาเช่นเดียวกับการแต่งตั้ง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับเป็นการร่วมมือกันปราบปรามและป้องกันความประพฤติมิชอบของผู้ปกครองสงฆ์ อันจะนำความเสียหายมาสู่คณะสงฆ์และพระศาสนา เนื่องจากวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มีอำนาจหน้าที่บริหารการปกครองภายในวัดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งจัดการ ศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี เพื่อดำรงพระพุทธศาสนาให้เจริญยั่งยืนมั่นคงตลอดไป การตรากฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ จึงสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ส่วนตำแหน่งรองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส ปรากฏว่ายังไม่ได้บัญญัติหรือกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้แต่อย่างใด จึงเห็นสมควรเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของรองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๖ วรรคสอง เป็น รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วย-เจ้าอาวาส มีอำนาจหน้าที่ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมาย - ๔ - ๒. ตามหลักพระพุทธศาสนาตั้งแต่พุทธกาลมาจนถึงปัจจุบัน ได้แบ่งพุทธบริษัทเป็น ๔ ประเภท คือ ภิกษุ (รวมทั้งสามเณร) ภิกษุณี (รวมทั้งสามเณรี) อุบาสก (ผู้ชาย) อุบาสิกา (ผู้หญิง) ทั้ง ๔ ประเภท แบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ๒.๑ กลุ่มบรรพชิต หรือนักบวช จะต้องได้รับการบรรพชาอุปสมบทและรักษาศีล (พระวินัย) ตามพุทธบัญญัติที่ทรงกำหนดไว้ ๒.๒ กลุ่มคฤหัสถ์หรือฆราวาส ไม่ถือเป็นบรรพชิต เนื่องจากไม่มีพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการบวชไว้ คำว่า บรรพชิต แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้เว้นขาดจากความชั่วทั้งปวง หมายถึง นักบวชทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น เช่น ศาสนาพราหมณ์ บรรพชิต ในพระสูตร คือ ธัมมจักกัปป-วัตตนสูตร หมายถึง ผู้ออกบวชเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ เช่น คำว่า ที่สุดสองอย่าง อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเพียรเพื่อทำตนให้ลำบาก) และกามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบกิจที่เกี่ยวด้วยสุขในกามคุณ) ๓. คำว่า สงฆ์ ตามพระวินัย หมายถึง สมมติสงฆ์ ได้แก่พระภิกษุ ๔ รูป ขึ้นไป ในการกระทำสังฆกรรมต่าง ๆ เช่น สวดพระปาฏิโมกข์ เป็นต้น ส่วนคำว่า สงฆ์ ตามพระสูตร หมายถึง อริยสงฆ์ ได้แก่พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ประกอบด้วย พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ซึ่งความหมายแตกต่างจากคำว่า คณะสงฆ์ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นสมควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรด ๑. พิจารณาความเห็นของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในการบัญญัติเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของรองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๖ วรรคสอง เป็น รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส มีอำนาจหน้าที่ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมาย ๒. พิจารณาความเห็นของคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ที่เสนอขอปรับปรุงแก้ไขกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ข้อ ๔ ในกฎมหาเถรสมาคมนี้ พระสังฆาธิการ หมายถึง พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ดังต่อไปนี้... เป็น ในกฎมหาเถรสมาคมนี้ พระสังฆาธิการ หมายถึง พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้... โดยตัดคำว่า ปกครองคณะสงฆ์ ออกไป - ๕ - ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติมอบคณะกรรมการร่างกฎของมหาเถรสมาคมพิจารณา จึงเรียนมาเพื่อโปรดมอบส่วนคุ้มครองพระพุทธศาสนาดำเนินการต่อไป (นายพิศาล แช่มโสภา) ผู้อำนวยการส่วนงานมหาเถรสมาคม
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF01092551_00109.pdf (252.37 kb)
จำนวนเข้าดู : 4541
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00