• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 03/2550

มติที่ 56/2550

เรื่อง การบริหารจัดการกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา ตามพระราชประสงค์

มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที ..............…................................……… เรื่อง การบริหารจัดการกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา ตามพระราชประสงค์ ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ เลขาธิการ-มหาเถรสมาคมเสนอว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ วธ ๐๓๐๑/๑๔ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๐ แจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินจำนวน ๗๒ ล้านบาท ที่ธนาคารออมสินได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย เนื่องใน วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ให้จัดตั้งเป็นกองทุนและใช้ดอกผลอันเกิดจากกองทุนนี้เพื่อเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา โดยมอบหมายให้กรมการศาสนาร่วมกับมหาเถรสมาคมเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการ กรมการศาสนาจึงได้ร่างระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนาตามพระราชประสงค์ พ.ศ. …. โดยมี พระวิสุทธาธิบดี พระพรหมมุนี ผู้แทนมหาเถรสมาคม พร้อมผู้บริหารของธนาคารออมสิน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อธิบดีกรมการศาสนา และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นคณะทำงาน จำนวน ๓๒ รูป/คน ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินการร่างระเบียบดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรมการศาสนาได้ดำเนินการดังนี้ ๑. กรมการศาสนาได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อนำร่างระเบียบกองทุนเผยแผ่พระธรรมฯ เสนอมหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีหนังสือแจ้งว่า กำลังจะนำเสนอมหาเถรสมาคม อนึ่ง หากกรมการศาสนาเห็นควรโอนความรับผิดชอบการบริหารกองทุนฯ มาเป็นความรับผิดชอบของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และ พระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ยินดีรับดำเนินการ ๒. กรมการศาสนาได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่ากรมการศาสนา จะต้องน้อมรับปฏิบัติและดำเนินการบริหารกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนาร่วมกับมหาเถรสมาคม ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่สามารถโอนความรับผิดชอบการบริหาร กองทุนฯ ให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ และกรมการศาสนาขอทราบผลการพิจารณาการให้ความเห็นชอบในร่างระเบียบ ว่าด้วยกองทุนฯ ดังกล่าว เพื่อกรมการศาสนาจะได้ดำเนินการตามพระราช-ประสงค์ต่อไป - ๒ - ๓. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีหนังสือแจ้งว่า มหาเถรสมาคมได้มีมติว่าคำชี้แจงของสำนักราชเลขาธิการสมควรแล้วและหากจะกำหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบในตำแหน่งต่าง ๆ ให้ชัดเจน ซึ่งในมติมหาเถรสมาคมได้แจ้งว่า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประสานงานกับสำนักราชเลขาธิการในประเด็นที่ประชุมได้อภิปรายถึงหน่วยงานที่จะเป็นที่ตั้งสำนักงานกองทุนฯ ซึ่งจะมีหน้าที่เป็นสำนักงาน เลขานุการของคณะกรรมการกองทุนฯ และได้รับคำชี้แจงว่า เรื่องนี้แล้วแต่รัฐบาลจะเห็นสมควรประการใด สำนักราชเลขาธิการไม่น่าจะมีอะไรขัดข้อง ต่อมา ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ-มหาเถรสมาคมได้เข้าพบรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในขณะนั้น เพื่อปรึกษาข้อราชการต่าง ๆ โดยมีอธิบดีกรมการศาสนาอยู่ ณ ที่นั้นด้วย จึงได้หารือในเรื่องนี้ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้เสนอความเห็นในกรณีนี้ว่า การสนองงานนี้ควรเป็นไปในลักษณะเป็นประธานร่วม และเลขานุการร่วม โดยให้ทั้ง ๒ หน่วยงาน คือ กรมการศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นประธานและเลขานุการร่วมกัน เพื่อให้ทั้ง ๒ หน่วยงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์อยู่แล้ว ได้สนองงานเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ กรมการศาสนาได้มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอหารือว่าการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวสามารถมีประธานและเลขานุการกองทุนฯ ร่วมกันได้หรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้ว เห็นว่าตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ การพิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมาย ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา ต้องเป็นกรณีการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐที่ขอหารือ ซึ่งกรณีปัญหาที่กรมการศาสนาขอหารือมานั้น เป็นกรณีปัญหาทางปฏิบัติเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนฯ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย ในชั้นนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) จึงไม่อาจพิจารณาให้ความเห็นได้ กรมการศาสนาได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา-โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินจำนวน ๗๒ ล้านบาท ให้เป็นกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา โดยมีพระราชประสงค์ให้ใช้ดอกผลอันเกิดจากกองทุนเพื่อเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา และได้มอบให้กรมการศาสนาร่วมกับมหาเถรสมาคมเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้แบ่งกรมการศาสนาออกเป็น ๒ หน่วยงาน คือ กรมการศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยกรมการศาสนาและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต่างมีภารกิจและหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุง- กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการศาสนา กระทรวง- วัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนี้ - ๓ - ๑. กรมการศาสนามีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุง ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดี และสร้างความสมานฉันท์ระหว่าง ศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ๒. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และรัฐ โดยการทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา ดังนั้น ภารกิจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง ระเบียบต่าง ๆ ได้โอนมายังสำนักงาน- พระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยเฉพาะมาตรา ๑๓ ที่บัญญัติให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถร-สมาคมโดยตำแหน่ง และกรมการศาสนาเป็นสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ได้เปลี่ยนแปลงเป็นผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติเป็นสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม จึงทำให้การรับสนองงานคณะสงฆ์และมหาเถรสมาคมไปอยู่ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อพิจารณาหน่วยงานที่จะดำเนินงานเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนาของกองทุนฯ ดังกล่าว ระหว่างกรมการศาสนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแล้ว จะมีผลดังนี้ ๑. หากกรมการศาสนาเป็นผู้ดำเนินการเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา ตามพระราช-ประสงค์ โดยร่วมกับมหาเถรสมาคมแล้ว จะต้องนำเสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบทุกโครงการโดยผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุม มหาเถรสมาคมพิจารณา ซึ่งในเบื้องต้นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องวิเคราะห์งานก่อนนำเสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยจะต้องใช้เวลาพอสมควร อันเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการดำเนินการดำเนินงานตามพระราชประสงค์ ๒. หากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธ-ศาสนาตามพระราชประสงค์แล้วสามารถนำเสนอเข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้ทันที เนื่องจากผู้อำนวยการ-สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง สำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติเป็นสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ๓. หากดำเนินการตามความเห็นของอดีตรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ว่า การสนองงานนี้ควรเป็นไปในลักษณะเป็นประธานร่วมและเลขานุการร่วม เพื่อให้ทั้ง ๒ หน่วยงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์อยู่แล้ว ได้สนองงานให้เป็นไปตามพระราชประสงค์แล้ว ก็เกรงว่าจะก่อให้เกิดปัญหาในด้าน- - ๔ - การบริหารจัดการและด้านปฏิบัติ เนื่องจากจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานกองทุนฯ ๒ ท่าน และ เลขานุการกองทุนฯ ๒ ท่าน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคและเป็นการเพิ่มขั้นตอนระยะเวลาในการทำงาน ทั้งกรมการศาสนาและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติต่างก็มีภาระหน้าที่ลักษณะเดียวกันและยินดีน้อมรับปฏิบัติและดำเนินการบริหารกองทุนฯ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพิจารณาข้อดี - ข้อเสีย ดังกล่าว และเพื่อให้ยุติปัญหาว่าหน่วยงานใดควรเป็นผู้บริหารกองทุนฯ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอมอบการบริหารจัดการกองทุนเพื่อเผยแผ่ พระธรรมในพระพุทธศาสนาตามพระราชประสงค์ ซึ่งขณะนี้มียอดเงินกองทุน ณ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ เป็นจำนวนเงิน ๘๕,๘๑๕,๑๖๖.๑๙ บาท (แปดสิบห้าล้านแปดแสนหนึ่งหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยหกสิบหกบาท-สิบเก้าสตางค์) ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ โดยมีกรมการศาสนาเป็นรองประธานหรือกรรมการต่อไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ราชการ และพุทธศาสนิกชน ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธ-ศาสนาตามพระราชประสงค์ ดังนี้ ๑. พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม ประธานกรรมการ ๒. พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา กรรมการ ๓. พระพรหมสุธี วัดสระเกศ กรรมการ ๔. พระธรรมกิตติเมธี วัดสัมพันธวงศ์ กรรมการ ๕. พระธรรมวรเมธี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรรมการ ๖. ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรรมการ ๗. นางจุฬารัตน์ บุณยากร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรรมการ ๘. รองอธิบดีกรมการศาสนาหรือผู้แทน กรรมการ ๙. ผู้แทนธนาคารออมสิน กรรมการ ๑๐. ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม กรรมการและเลขานุการ ๑๑. ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนศึกษา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณากิจกรรม แนวการดำเนินงาน จัดทำระเบียบการดำเนินการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ แล้วนำเสนอมหาเถรสมาคมพิจารณา (นางจุฬารัตน์ บุณยากร) รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : CCF01292551_00054.pdf (277.21 kb)

จำนวนเข้าดู : 692

ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00

ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved