มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 17/2550
มติที่ 382/2550
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ.
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๐ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๙๐๑.๘/ป ๕๗๓ ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ แจ้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติส่งผู้แทนไปร่วมประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุมโบราณ และสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติได้มอบให้ กลุ่มนิติการ กองกลาง และกองพุทธศาสนศึกษา เข้าร่วมประชุมชี้แจง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขอนมัสการว่า ในการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ดังกล่าว มีหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมชี้แจง คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมการศาสนา และหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งได้มีการแถลงในที่ประชุมว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำเสนอ เนื่องจากภารกิจที่เกิดจากร่างพระราชบัญญัติ ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ดังกล่าว มีความซ้ำซ้อนกับภารกิจของสำนักงานพระพุทธ-ศาสนาแห่งชาติและกรมการศาสนา นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจดังกล่าวอยู่ภายใต้การบริหารงานขององค์กรอิสระ ทั้งนี้ โดยเห็นว่าสมควรให้หน่วยงานของราชการเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งจะมีความเหมาะสมกว่า อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีความเห็นว่า สมควรให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . เสนอมหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบก่อน และให้กรมการศาสนาเรียนรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงวัฒนธรรมพิจารณาก่อน แล้วให้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทราบอีกครั้งหนึ่ง /สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ - ๒ - สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดย กลุ่มนิติการ กองกลาง ได้ประสานกับ กองพุทธศาสนศึกษา ศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบ หากมีการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติ- คุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ดังกล่าว เสนอมหาเถรสมาคมพิจารณา ดังต่อไปนี้ ความเป็นมา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานที่ยกร่างพระราช-บัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . และได้ส่งให้หน่วยงานต่าง ๆ เสนอความเห็นเพื่อปรับเนื้อหาของร่างฯ โดยได้มีการประชุมพิจารณา ๒ ครั้ง เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ แล้วจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้วจึงได้มอบสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาในรายละเอียดของเนื้อหา วัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ๑. เพื่อให้มีกลไกและมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในการจัดการกับปัญหาสังคมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการขาดจิตสำนึกทางคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมนำการพัฒนา ๒. เพื่อให้มีกลไกที่ผนึกกำลังทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาค-ประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ให้ร่วมกันทำงานอย่างบูรณาการและมีเอกภาพ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรภาคส่วน ๓. เพื่อให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติเป็นกลไกเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสังคมด้านการส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันอย่าง มีพลัง ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ๔. เพื่อให้มีธรรมนูญว่าด้วยคุณธรรมแห่งชาติ ๕. เพื่อให้มีแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติเป็นมาตรการในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมของหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานภาคส่วน วิธีทำงานและการตรวจสอบ ๑. โอนกิจการของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม ในความ รับผิดชอบของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี ไปอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม- /คุณธรรมแห่งชาตินี้ - ๓ - คุณธรรมแห่งชาตินี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยจะทำการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และอยู่ในกำกับของนายกรัฐมนตรี ๒. ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และให้มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบายและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กำหนดมาตรการและให้ความเห็นชอบโครงการต่าง ๆ ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ และประสานงาน แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ๓. ให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ โดยให้ทุกภาคส่วนทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลสถานการณ์ของสังคมเกี่ยวกับอบายมุข สิ่งเสพติด คุณธรรมและจริยธรรมของสังคม ตลอดจนเสนอมาตรการ และแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหา ๔. จัดทำธรรมนูญว่าด้วยคุณธรรมแห่งชาติ วิเคราะห์ผลกระทบ องค์กรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ได้กำหนดให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรสมาชิกที่ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม รวมทั้ง ชุมชนท้องถิ่น โดยให้มีอำนาจหน้าที่ประการหนึ่งคือ เสนอความเห็นในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยคุณธรรมแห่งชาติ จึงมีประเด็นที่ควรพิจารณา คือ ๑. องค์กรที่ประกอบเป็นสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ถูกกำหนดให้ครอบคลุมถึงองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในสังคมไว้มากมาย และให้มีอำนาจเสนอนโยบายยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ตามมาตรา ๖ ๒. ฐานะของธรรมนูญว่าด้วยคุณธรรมแห่งชาติไม่มีความชัดเจนในฐานะทางกฎหมายอย่างไร เช่น เป็นพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง หรือคำสั่งของหน่วยงานหรือบุคคลใด นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นสาระสำคัญในธรรมนูญว่าด้วยคุณธรรมแห่งชาติ ให้กำหนดเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันทางศาสนาไว้ด้วย การกำกับดูแลองค์กรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๑. สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติเป็นองค์กรที่ไม่เป็นส่วนราชการ บริหารงานโดยคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี - ๔ - ๒. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ มีอำนาจเสนอแนะแนวทางให้หน่วยงานของรัฐนำไปปฏิบัติ โดยผ่านทางคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ เพื่อดำเนินการให้บรรลุผล ประเด็นที่ ๑ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่มีอำนาจกว้างขวางครอบคลุมทุกองค์กร โดยผ่านทางสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ประเด็นที่ ๒ ไม่มีการกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ หากขอบเขตของพระราชบัญญัติดังกล่าวครอบคลุมองค์กรทางศาสนา แต่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกรมการศาสนากลับไม่มีส่วนร่วม ขอบเขตของพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . นิยามคำว่า คุณธรรม หมายความว่า สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดกลัวความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี เป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน และเป็นสิ่งที่ต้องอบรม โดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้น และเหมาะสมกับความต้องการของสังคม จริยธรรม หมายความว่า กรอบหรือแนวทางอันดีงามที่พึงปฏิบัติซึ่งกำหนดไว้สำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักสามัคคี เกิดความอบอุ่นมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ศีลธรรม กฎหมาย ธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น นิยามดังกล่าวเป็นการนำคำว่าคุณธรรมซึ่งเป็นคำกว้างในเชิงอุดมคติ ซึ่งใช้กำหนดกรอบทางจิตใจ มากำหนดเป็นเป้าหมายของกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ และยัง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกับแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน หรือองค์กรอื่นในสังคม โดยเฉพาะทางด้านศาสนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระภิกษุสามเณร หรือนักบวชต่าง ๆ ซึ่งมีกฎ ระเบียบ พระธรรมวินัย กำหนดการประพฤติปฏิบัติไว้ชัดเจนยิ่งกว่าประชาชนทั่วไป ซึ่งนับเป็นรูปธรรมทางคุณธรรมที่ชัดแจ้ง และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนที่นับถือโดยใจสมัครมาเป็นระยะเวลายาวนาน ข้อสังเกต ๑. การที่ขอบเขตเนื้อหาของพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . กว้างขวางครอบคลุมถึงองค์กร และสถาบันทางศาสนา ตามบทนิยามคำว่า คุณธรรม และคำว่า - ๕ - จริยธรรม สิ่งที่ควรพิจารณาคือ กลุ่มเป้าหมายที่พระราชบัญญัติดังกล่าวต้องการใช้บังคับคือกลุ่มใด และต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างไร ๒. ศาสนาแต่ละศาสนา ย่อมมีลักษณะเฉพาะตัวทั้งในรูปแบบ พิธีกรรม และแบบแผนการดำเนินชีวิต การเลี้ยงชีพ เป็นไปตามอุดมคติทางศาสนาของแต่ละศาสนา และย่อมแตกต่างจากการดำเนินชีวิตของบุคคลทั่วไปในสังคม ๓. ภาพรวมของศาสนา ในแง่ของประชาชนในสังคมย่อมแบ่งแยกได้ตามศาสนา ที่ตนนับถือ แม้จะมีเป้าหมายและอุดมคติอย่างเดียวกันในความดี มีคุณธรรม มีศีลธรรม แต่เกิดจากความเชื่อและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ๔. การที่รัฐบาลมีแนวนโยบายเกี่ยวกับการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมนำการพัฒนา ซึ่งเป็นนโยบายที่ดี และหากต้องการรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ ก็สามารถเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป หรือองค์กรต่าง ๆ ได้โดยตรง เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยผ่านกลไกต่าง ๆ ของรัฐ หรือองค์กร ซึ่งดำเนินงานในขอบเขตที่เกี่ยวข้องได้ ไม่จำต้องตราเป็นกฎหมาย เพื่อระดมความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยกลุ่มนิติการ มีความเห็นว่า ควรจะเสนอให้มีการแก้ไขชื่อของพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเสียใหม่ และเสนอขอให้กำหนดขอบเขตเนื้อหาของพระราชบัญญัติดังกล่าวเสียใหม่ โดยให้ยกเว้นองค์กร และสถาบันทางศาสนา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาร่างพระราชบัญญัติคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ที่แนบถวายในที่ประชุม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ-คุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . ประกอบด้วย ที่ปรึกษา ๑. สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป ๒. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม ๓. พระสาสนโสภณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๔. พระพรหมเมธี วัดเทพศิรินทราวาส - ๖ - คณะกรรมการ ๑. พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร ประธานกรรมการ ๒. พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม กรรมการ ๓. พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา กรรมการ ๔. พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม กรรมการ ๕. พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กรรมการ ๖. พระพรหมสุธี วัดสระเกศ กรรมการ ๗. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ กรรมการ ๘. พระธรรมกิตติเมธี วัดสัมพันธวงศ์ กรรมการ ๙. พระธรรมวรเมธี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรรมการ ๑๐. ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนศึกษา กรรมการและเลขานุการ ๑๑. หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๒. ผู้อำนวยการส่วนงานมหาเถรสมาคม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๓. นางสาวรัตนา เจริญวรรณธนัง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้มีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. . พร้อมทั้งจัดทำข้อวินิจฉัยและหรือข้อเสนอแนะ แล้วนำเสนอมหาเถรสมาคม และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม (นางจุฬารัตน์ บุณยากร) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF01592551_00001a.pdf (279.27 kb)
จำนวนเข้าดู : 770
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00