มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 17/2551
มติที่ 350/2551
เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงานเพื่อประชาชน วัด - มัสยิด ประหยัดไฟ ร่วมใจสมานฉันท์
ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เข้าหารือร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๑ ณ สำนัก-งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เกี่ยวกับโครงการหลอดตะเกียบเบอร์ ๕ และหลอดผอม-ใหม่ เบอร์ ๕ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เห็นชอบเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นแนวทางที่จะเป็นประโยชน์กับวัดทั่วไปที่ใช้ไฟฟ้าส่องสว่างโดยการเปลี่ยนเป็นหลอดประหยัดไฟ ต่อมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติจัดแถลงข่าวและพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อประชาชน วัด - มัสยิด ประหยัดไฟ ร่วมใจสมานฉันท์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมแถลงข่าวและพิธีลงนามประกอบด้วย - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) สักขีพยาน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พลโท (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ) สักขีพยาน - ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้ลงนาม - ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ลงนาม ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่สำนักงาน-พระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมด้วยพระสงฆ์ จำนวน ๖๐ รูป สื่อมวลชนต่าง ๆ เข้าร่วมงานแถลงข่าว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแจ้งรายละเอียดตามมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อประชาชน วัด - มัสยิด ประหยัดไฟ ร่วมใจสมานฉันท์ สรุป ดังนี้ หลักการ จากข้อมูลองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ พบว่า ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ประมาณร้อยละ ๑๙ เป็นการผลิตเพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต-แห่งประเทศไทยจึงได้ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนใช้หลอดประหยัดพลังงาน ทั้งในส่วน หลอดตะเกียบเบอร์ ๕ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไส้ได้ถึง ๕ เท่า และหลอดผอมใหม่ (T5) ขนาด ๒๘ วัตต์ ที่สามารถประหยัดพลังงานสูงกว่าหลอดผอม (T8) ขนาด 36 วัตต์ ถึง 30% กระทรวงพลังงานจึงมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อประชาชน วัด - มัสยิด ประหยัดไฟ ร่วมใจสมานฉันท์ โดยดำเนินการให้วัดซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชนเป็นสถานที่ตัวอย่างในการใช้หลอดประหยัดพลังงาน แนวทางการดำเนินงาน จัดกิจกรรมรณรงค์เปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงานให้กับวัดและมัสยิด จำนวน ๕๐๐ วัด/แห่ง แบ่งเป็นวัด ๔๐๐ วัด และมัสยิด ๑๐๐ แห่ง โดยเปลี่ยนใช้หลอดตะเกียบเบอร์ ๕ จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ หลอด และหลอดผอมใหม่ (T5) จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ หลอด รวมเป็น ๑ ล้านหลอด ระยะเวลาดำเนินงาน ๑. ในส่วนของวัด ๔๐๐ วัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแจ้งสำนักงาน-พระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัดให้คัดเลือกวัด เฉลี่ยจังหวัดละ ๕ วัด รวม ๓๗๕ วัด และในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๕ วัด รวมเป็น ๔๐๐ วัด เป็นตัวอย่างนำร่อง โดยการ ให้วัดที่ได้รับการคัดเลือกสำรวจประเภทหลอดไฟฟ้าที่ใช้ในวัด และกรอกข้อมูลในแบบสำรวจส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด เพื่อรวบรวมมอบสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติสรุปข้อมูลให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการจัดมอบหลอดประหยัดพลังงานตามมาตรการให้กับวัดต่อไป ๒. สำหรับวัดทั่วประเทศประมาณ ๓๒,๐๐๐ วัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง-ประเทศไทยจะดำเนินการมอบหลอดประหยัดพลังงานเปลี่ยนวัดละ ๑๕ - ๒๐ หลอด ผลที่ได้รับ ๑. การเปลี่ยนหลอดประหยัดพลังงาน ๑ ล้านหลอด จะสามารถประหยัด พลังงานไฟฟ้าได้ ๗๐ ล้านหน่วยต่อปี ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ ๒๐๑ ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง ๓๕,๖๓๐ ตันต่อปี ๒. เกิดเครือข่ายวัดประหยัดพลังงานในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ๓. เป็นตัวอย่างนำร่องและขยายผลแก่ประชาชน ภาคราชการ และภาคเอกชน ผลการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าว ในส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติ โดย กองพุทธศาสนสถาน ดำเนินการแล้วดังนี้ ๑. ในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้แจ้ง เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธรรมยุต) ให้ความอนุเคราะห์แจ้งวัดต่าง ๆ ร่วมมือกรอกข้อมูลการใช้หลอดไฟในวัด แล้วรวบรวมส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒. ในส่วนภูมิภาค สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้แจ้งสำนักงาน- พระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด แจ้งวัดต่าง ๆ ร่วมมือกรอกข้อมูลการใช้หลอดไฟในวัด แล้วรวบรวมส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๓. การแจ้งข้อมูลข่าวสาร และการติดตามผลตามมาตรการทางสื่ออินเตอร์เน็ต ชื่อ http://www.kongbuddhstan.co.cc ซึ่งเป็นเว็บไซต์กองพุทธศาสน-สถานในข่าวประชาสัมพันธ์เพื่อให้ทราบทั่วกัน ผลการดำเนินงาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดย กองพุทธศาสนสถานได้จัดทำ ข้อมูล เรียบเรียงผลการจัดส่งแบบสำรวจหลอดไฟฟ้าของวัด จากสำนักงานพระพุทธ-ศาสนาจังหวัดต่าง ๆ สรุปผลการจัดส่งระยะแรกได้ประมาณ ๘๐% หรือจำนวนรายชื่อ ๓๒๕ วัด จาก ๖๑ จังหวัด ที่เหลืออีก ๑๔ จังหวัด จะดำเนินการเป็นระยะที่ ๒ ต่อไป สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครได้แจ้งรายชื่อวัดนำร่องให้คณะทำงานที่เกี่ยวข้องของการ-ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับทราบเบื้องต้นแล้ว จำนวน ๒๕ วัด จากการประสานงานได้รับคำแนะนำว่าสามารถยืดหยุ่นเพิ่มเติมรายชื่อวัดที่เห็นความสำคัญได้ในระยะต่อไป รายละเอียดตามเอกสารที่แนบถวายในที่ประชุม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ ที่ประชุมรับทราบ และขออนุโมทนา
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF02292551_00350.pdf (1.09 mb)
จำนวนเข้าดู : 765
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00