• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 01/2553

มติที่ 12/2553

เรื่อง ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ได้มีบัญชามอบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติพิจารณานำเสนอมหาเถรสมาคม กรณี ศาสตราจารย์เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สว (กมธ ๓) ๐๐๑๙/๕๗๒๓ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๒ แจ้งว่า ได้จัดทำรายงานประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รวม ๔ ประเด็น คือ ประเด็นที่ ๑ การจัดห้องรับรองพระภิกษุสงฆ์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ การจัดห้องรับรองพระภิกษุสงฆ์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทางอนุกรรมาธิการ- พระพุทธศาสนา วุฒิสภา ได้ประสานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและการท่าอากาศยาน- แห่งประเทศไทย ทำให้ได้ห้องรับรองพิเศษหมายเลข ๖ บริเวณชั้น ๓ (cip๖) เป็นห้องรับรอง พระภิกษุสงฆ์ แต่ห้องดังกล่าวมีพื้นที่เพียง ๕๐ ตารางเมตร อนุกรรมาธิการฯ ได้ขอขยายพื้นที่ออกไปอีก ๕๐ ตารางเมตร คือ ห้องรับรองพิเศษหมายเลข ๕ (cip๕) ผู้แทนบริษัท ท่าอากาศ-ยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการฯ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ได้รับทราบแล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้งความคืบหน้าต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่จะเดินทางไปต่างประเทศ การท่า-อากาศยานได้มอบพื้นที่ในส่วนของพื้นที่ว่างบริเวณแนว corridor ชั้นที่ ๒ พื้นที่ ๕๐ ตารางเมตร ให้เป็นห้องรับรอง โดยให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้าง ปัจจุบัน เกิดความล่าช้าในกระบวนการตรวจแบบเพื่อก่อสร้าง จึงไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ในกรณีนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า หากสำนักนายกรัฐมนตรีและมหาเถร-สมาคมให้การสนับสนุน โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะทำให้การดำเนินการสำเร็จเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ประเด็นที่ ๒ ปัญหาวัดร้าง และจำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลดน้อยลง วัดร้างเพิ่มขึ้นประมาณ ๔๐ แห่งต่อปี บางวัดมีพระสงฆ์เพียงรูปเดียว ซึ่งมีเหตุปัจจัยหลายประการ แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือกุลบุตรเข้ามาบวชน้อยลง เนื่องจากสภาพทางสังคมทำให้ผู้ที่บวชระยะเวลาสั้นกว่าในอดีต จะมีวิธีอย่างไรที่จะให้ผู้ที่บวชดูแลบริหารศาสนสถานได้อย่างยั่งยืน จากสถิติพบว่า เมื่อช่วงเข้าพรรษาของทุกปีจะมีพระภิกษุสามเณรประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูป ซึ่งเฉลี่ยทั่วประเทศแล้ววัดแต่ละแห่งจะมีพระภิกษุสามเณรประมาณ ๑๒ รูปต่อแห่ง แต่ในความเป็นจริงวัดที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร พระภิกษุสามเณรจะกลับเข้าสู่เมืองเพื่อศึกษา ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พระภิกษุสามเณรกระจุกอยู่ตามตัวเมือง เป็นผลให้วัดในชนบทขาดแคลน จากประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่พึงเร่งแก้ไขดังนี้ ๒.๑ สังคมไม่เห็นความสำคัญของการบวชเป็นพุทธบุตร ทำให้ค่านิยมการ ส่งบุตรชายบวชเสื่อมถอยลง การแก้ปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่ต้องพึ่งนโยบายเชิงบูรณาการจาก รัฐบาล แต่ในส่วนที่สามารถจัดการได้เลยมีดังนี้ ส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในชุมชน เช่น ส่งเสริมให้ท้องถิ่นดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในวัด ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น สำหรับวัดที่มีความพร้อมในการจัดเผยแผ่พระพุทธศาสนาและมีศักยภาพในการส่งเสริมการบวช เช่น โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ของวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมี สมเด็จ- พระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นประธานที่ปรึกษา เป็นสิ่งที่รัฐบาลและมหาเถรสมาคมควรสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร และคณะ อนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา วุฒิสภา ได้เข้าร่วมเป็นองค์กรภาคีร่วมกับองค์กรอื่น ๆ อีก ๒๒ องค์กร เพื่อผลักดันโครงการให้สัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม ในแผนงานระยะยาว การประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อปลูกฝังศรัทธาและปัญญาทางพุทธศาสนาในระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน ผ่านวิชา พระพุทธศาสนาและวิชาศีลธรรม อีกทั้งควรส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การเข้าวัด วันอาทิตย์ และในช่วงปิดเทอมควรส่งเสริมให้เด็กนักเรียนไปปฏิบัติธรรมฝึกตนเป็นธรรมทายาท กระทรวงศึกษาธิการสามารถประสานกับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อให้ทัศนะที่- ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและให้นำบุตรหลานของตนเข้าวัด อีกองค์กรหนึ่งที่มีความสำคัญในการจะช่วยผลักดันนโยบายนี้ในเชิงปฏิบัติคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถสร้าง ความสัมพันธ์กับวัด โรงเรียน และประชาชนในท้องถิ่นได้โดยตรง แต่ทั้งนี้ มหาเถรสมาคม คือองค์กรที่สำคัญที่สุดในการผลักดันให้โครงการเหล่านี้ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจัดหาพระภิกษุที่มีศักยภาพในการสอนพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการ-เทศน์สอนในวัดและโรงเรียน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจน การฝึกอบรมคฤหัสถ์ให้เป็นครูสอนพระพุทธศาสนาที่ดี นอกจากนั้น มหาเถรสมาคมยังสามารถขอความร่วมมือไปยังองค์กรปกครองท้องถิ่นและวัดทั่วประเทศเพื่อส่งเสริมการบวช และการ-ดำเนินการให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมอีกด้วย ๒.๒ ปัญหาการจัดการคณะสงฆ์ อนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนาเห็นว่า ในหมู่ชนหมู่ใดย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี แม้ในองค์กรสงฆ์ก็ยังมีผู้ปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย อีกทั้งมีผู้ปลอมบวชจำนวนไม่น้อย ทำให้ภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลง และเป็นเหตุประการหนึ่งที่ทำให้คนเข้ามาบวชน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาวัดร้าง การแก้ปัญหาที่ตรงจุดอาจทำได้โดยการดำเนินการด้านการขึ้นทะเบียนพระภิกษุสงฆ์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นองค์ประกอบสำคัญ ฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและทันสมัยเกี่ยวกับพระสงฆ์และวัดจะช่วยพระสังฆาธิการได้ดูและขจัดปัญหาศาสนาได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มหาเถรสมาคมได้จัดทำทะเบียนพระขึ้นเป็นฐานข้อมูลส่วนกลาง และจะส่งถึงทุกจังหวัดเพื่อจะให้ทราบทั่วถึงกันว่าพระรูปใดบวชใหม่ หรือพระรูปใดลาสิกขาแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการลาสิกขาที่จังหวัดหนึ่งเพราะผิดกฎและแอบหนีไปบวชอีกจังหวัดหนึ่ง ฐานข้อมูลจะช่วยให้ตรวจสอบผู้มาบวชในด้านคดีอาญาหรือการติดยาเสพติด แต่ทั้งนี้ ฐานข้อมูลเหล่านั้นจะต้องง่ายต่อการใช้และได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อพระสงฆ์จะได้ใช้ควบคู่กับหนังสือคู่มือพระสังฆาธิการ ซึ่งจะต้องจัดพิมพ์ออกมาอย่างพอเพียงและมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ ประเด็นที่ ๓ ปัญหาทางกฎหมาย สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้การบริหารจัดการคณะสงฆ์ที่ทำให้การจัดการปัญหาเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่รู้ว่าอำนาจในการตัดสินอยู่ที่ใด ก็คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์คือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แต่ทว่า การแก้ไขนั้นเป็นไปได้ยาก อนุกรรมาธิการฯ จึงเสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติรีบผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ. อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา พ.ศ. …. ซึ่งอยู่ในชั้นกฤษฎีกา ณ ปัจจุบัน ออกมาบังคับใช้โดยเร็วก่อน เพื่อให้มหาเถรสมาคมพิจารณา หลังจากนั้น หากเป็นไปได้จึงจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะอนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า ความเห็นและข้อเสนอแนะจากมหาเถรสมาคม เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การดำเนินการทางด้านกฎหมายมีความเป็นไปได้ ประเด็นที่ ๔ ปัญหาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เนื่องจากนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของรัฐบาล ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจึงอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัดเป็นสถานที่ดำเนินการ ที่ผ่านมาประสบปัญหาหลายประการได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้จัดสรรให้วัดอย่างเต็มที่ ปัญหาการเอาครูพี่เลี้ยงสอนชุดเดิมออก และมีการสอบบรรจุใหม่ทั้งหมด ซึ่งมีข้อดีคือทำให้เงินสวัสดิการเพิ่มขึ้น แต่ข้อเสียคือ ไม่เกิดประโยชน์กับเด็กโดยตรง และปัญหาที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขัดแย้งกับเจ้าอาวาสประจำศูนย์ ทำให้การดำเนินงาน ไม่มีประสิทธิภาพและปัญหาอื่น ๆ คือ ๑. ครูผู้สอนและครูพี่เลี้ยงตลอดทั้งเจ้าหน้าที่ของศูนย์เป็นลูกจ้างของวัดได้รับ ค่าจ้างจากวัดไม่มีการกำหนดเกณฑ์ที่แน่นอนในการว่าจ้าง ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของประธานศูนย์และคณะกรรมการ ซึ่งเป็นงบอุดหนุนมิใช่งบบริหารบุคคล ซึ่งกรมการศาสนาทำการโอนงบประมาณอุดหนุนตามจำนวนรายหัวเด็กที่มีในแต่ละปีการศึกษา ๒. ปัจจุบันครูผู้สอนและครูพี่เลี้ยงตลอดทั้งเจ้าหน้าที่ของศูนย์ บางส่วนเป็นพนักงานจ้างขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับค่าจ้างและสวัสดิการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย โดยยังมีบางส่วนที่วัดยังทำการจ้างเพิ่มเติมเพื่อช่วยดูแลเด็กในศูนย์ ซึ่งได้รับค่าจ้างตามความสามารถของวัดซึ่งเป็นผู้จ้าง ๓. การถ่ายโอนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดของกรมการศาสนาให้กับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในบันทึกการส่งมอบไม่ได้มีการระบุลงไปว่า ทรัพย์สินส่วนไหนที่สามารถโอนได้และส่วนไหนไม่สามารถโอนได้ (เนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคล ทรัพย์สินของวัดจึงไม่สามารถที่จะโอนให้กับท้องถิ่นได้) ทำให้เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันในเรื่องของสิทธิการ ครอบครอง การดูแล และบำรุงรักษาทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ๔. บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดมี ๒ สถานะ คือ บางส่วนมีสถานภาพเป็นพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่น ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น บางส่วนมีสถานภาพเป็น-ลูกจ้างของวัด ได้รับค่าตอบแทนจากวัดแต่ไม่มีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ทำให้การบริหารงานภายในศูนย์ฯ เกิดเป็นกลุ่ม ๒ กลุ่ม คือ ส่วนแรกที่เป็นพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางวัดมากนัก (เพราะถือว่าไม่ได้รับเงินค่าจ้างและสวัสดิการจากวัด) ๕. บุคลากรบางคนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการต่อสัญญาจ้าง เนื่องจากต้อง มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นในการเป็นบุคลากรของศูนย์ฯ จาก อปท. (ซึ่งผู้ประเมินก็คือตัวนายกเทศบาล/อบต.) ๖. งบประมาณที่ได้รับผ่าน อปท. มายังบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ฯ โดยตรง ซึ่งในความเป็นจริงวัดซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่และบางแห่งมีเจ้าอาวาสเป็นประธานศูนย์ฯ ไม่ได้รับทราบถึงจำนวนงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี และขาดการชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องการบริหารงาน ตลอดทั้งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจาก อปท. ในการนี้ อนุกรรมาธิการฯ จึงขอเสนอให้หาแนวทางแก้ไขโดยหาทางออกให้ชัดเจนว่า ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหมือนเดิม หรือจะเปลี่ยนให้วัดดูแล หรือว่าจะดูแลร่วมกัน โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้ ๑. เสนอข้อมูลปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ต่อรองนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๒. เสนอข้อมูลปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ต่อมหาเถรสมาคม เพื่อรับทราบและขอรับแนวทางแก้ไข ๓. เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมจัดทำบันทึกข้อตกลงการโอนกิจการในส่วนของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับใหม่ ๔. เสนอคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ ในการแก้ไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยประโยชน์ในการดำเนินงานให้กับศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการเดิมในการจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติว่าการพิจารณาและดำเนินการต่อไปให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐบาล

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : c12-01110153_12.pdf (159.8 kb)

จำนวนเข้าดู : 781

ปรับปรุงล่าสุด : 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553 10:29:03

ข้อมูลเมื่อ : 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553 10:29:03

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved