มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 14/2553
มติที่ 311/2553
เรื่อง รายงานความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. .
ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ได้เสนอขอถอนร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. . ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เพื่อนำกลับไปพิจารณาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้งหนึ่ง สำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. . เพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นของส่วนราชการที่เสนอมา และแจ้งสำนักเลขาธิการ- คณะรัฐมนตรี เพื่อส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเป็นการล่วงหน้า กับแจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นเบื้องต้น ต่อมา สำนักเลขาธิการ-คณะรัฐมนตรีได้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติว่า สำนักงานคณะกรรมการ-กฤษฎีกาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. . แล้ว สรุปประเด็นเกี่ยวกับการตรากฎหมายว่ามีความซ้ำซ้อนกับภารกิจของสำนักงาน-พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ส่วนบทบัญญัติในเรื่องโทษมีความซ้ำซ้อนในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาและ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เพื่อให้ครอบคลุมถึงบทบัญญัติดังกล่าว จะทำให้การบังคับใช้ กฎหมายมีประสิทธิภาพและมีความเป็นระบบยิ่งขึ้น หรือหากสำนักงานพระพุทธศาสนา-แห่งชาติมีความจำเป็นจะต้องตรากฎหมายในเรื่องนี้อย่างแท้จริงให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ โดยจัดทำคำชี้แจงความจำเป็นในการตรากฎหมาย นั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประชุมคณะกรรมการตรวจแก้ไข เพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. . และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในประเด็นเกี่ยวกับความจำเป็นในการตรากฎหมาย พระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และในประเด็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา และพระราช-บัญญัติคณะสงฆ์ สรุปดังนี้ ๑. การกำหนดให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ในพระราชบัญญัติอุปถัมภ์ฯ เป็นการยกระดับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดย มีหลายองค์กรเข้ามาช่วยเหลือระดมความคิดเห็นกำหนดนโยบายและแนวทางในการ ส่งเสริมพัฒนา สนับสนุน อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ๒. ส่วนในบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่ ไม่ครอบคลุม จำเป็นต้องมีการบัญญัติกฎหมายใหม่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรตรวจสอบก่อน หากมี บทบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎหมายอาญา ควรตัดมาตราหรือ ข้อความในร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. . นี้ออก เพื่อไม่ให้มีการบัญญัติซ้ำซ้อน ๓. ส่วนในเรื่องของกองทุน หากไม่มีความจำเป็น ควรตัดออกเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่รัฐบาลและสะดวกแก่การเสนอกฎหมายใหม่ ๔. มีมติให้ดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครอง พระพุทธศาสนาต่อไป แต่ให้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้กฎหมายมีความซ้ำซ้อนกัน ๕. มอบหมายให้คณะเลขานุการเป็นผู้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประสานงานปรึกษาผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้นำเสนอที่ประชุมพิจารณาโดยด่วนต่อไป สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ ที่ประชุมรับทราบ
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : c20-14100653_311.pdf (65.78 kb)
จำนวนเข้าดู : 490
ปรับปรุงล่าสุด : 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 10:27:15
ข้อมูลเมื่อ : 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 10:27:15