มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 01/2546
มติที่ 19/2546
เรื่อง รายงานผลการประชุมสัมมนาเรื่อง นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ เรื่อง รายงานผลการประชุมสัมมนาเรื่อง นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๖ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามที่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๙/ ๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ได้อนุมัติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการ เรื่อง นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ณ หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อถวายความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติ พระราช-กฤษฎีกา และกฎกระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานพระพุทธ-ศาสนาแห่งชาติ และเพื่อระดมความคิดเห็นจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ผู้บริหาร และ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการบริหารและการสนองงานคณะสงฆ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นั้น บัดนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดทำรายงานผลการประชุมสัมมนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอนมัสการทูลถวายและถวายผลการประชุมสัมมนาเพื่อโปรดทราบ ดังนี้ ๑. จำนวนผู้เข้าประชุมสัมมนามีจำนวนทั้งสิ้น ๔๓๐ รูป/คน แบ่งเป็น ๑.๑ บรรพชิต จำนวน ๒๔๗ รูป ประกอบด้วย กรรมการมหาเถร-สมาคม ๑๓ รูป เจ้าคณะภาคและรองเจ้าคณะภาค ๔๒ รูป เจ้าคณะจังหวัดและรอง - ๒ - เจ้าคณะจังหวัด ๑๓๕ รูป เลขานุการเจ้าคณะใหญ่ ๓ รูป และพระสงฆ์เข้าร่วมประชุม ๕๓ รูป ๑.๒ คฤหัสถ์ จำนวน ๑๘๔ คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๑๔๑ คน สื่อมวลชน ๑๑ คน และผู้สังเกตการณ์ ๓๒ คน ๒. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีพระบัญชามอบ สมเด็จพระพุฒาจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่แทนในพิธีเปิดและปิดการประชุมสัมมนา โดยมี นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้กล่าวถวายรายงาน ๓. ผลการสัมมนา ภาคเช้า เป็นการบรรยายเรื่อง นโยบายและแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มีสาระสำคัญ ดังนี้ ๑) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕ มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแล ๒) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตั้งขึ้นตามกฎหมายปฏิรูประบบราชการ ซึ่งยึดหลักให้หน่วยงานเล็กลง แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้มากยิ่งขึ้น มีความคล่องตัว มีงบลงทุนเพิ่มมากขึ้น ๓) สถานที่ตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และตราสัญลักษณ์ประจำ ยังไม่มีความชัดเจน - ๓ - ๔) ปัจจุบัน ยังมีหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ-เอกลักษณ์ของชาติ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการประสานการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ๕) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติยังไม่มีหน่วยงานในส่วนภูมิภาค แต่กระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งว่า ยังมีอัตราบุคลากรที่เหลือจากการจัดสรรลงตำแหน่งแล้วอีก ประมาณ ๓,๐๐๐ อัตรา ซึ่งส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและอำเภอ น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการสนองงานคณะสงฆ์ในส่วนภูมิภาคได้ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการประสานงาน ๖) จะต้องมีการทบทวนการแบ่งงาน ระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกับกรมการศาสนาใหม่ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปโดยสะดวก และสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน ๗) จะมีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ เพื่อให้คำแนะนำ เสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๘) ควรใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช-บัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตราที่ ๙ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อรับสนองงานมหาเถรสมาคม ๙) ให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยเฉพาะระบบข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน มีความเชื่อถือได้ มีความเที่ยงตรง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้เพื่อการบริหารงาน ๑๐) ปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ ๑๐.๑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ - ๔ - ๑๐.๒ การแบ่งงานระหว่างกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม กับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๑๐.๓ การประสานกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง ซึ่งประสงค์จะขอโอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากอยู่ในกลุ่มเดียวกับมหาวิทยาลัยทั่วไป ๑๐.๔ การทำความเข้าใจกับคณะสงฆ์ เพื่อให้ทราบบทบาทและ หน้าที่ที่จะดำเนินการต่อไปของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ภาคบ่าย เป็นการสัมมนาเพื่อระดมความคิดจากผู้เข้าประชุมทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์โดยแบ่งกลุ่มสัมมนาเป็น ๕ กลุ่ม ตามหน่วยงานที่สนองงานคณะสงฆ์ คือ งานกองพุทธ-ศาสนศึกษา งานกองพุทธศาสนสถาน งานสำนักงานพุทธมณฑล งานสำนักงานศาสนสมบัติ และงานสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ผู้เข้าประชุมกลุ่มได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอแนะแนวทางการสนองงานรัฐ และคณะสงฆ์ สรุปเป็น ๒ หมวด คือ เรื่องทั่วไป และผลการประชุมกลุ่มทั้ง ๕ กลุ่ม ดังนี้ ก. เรื่องทั่วไป ๑) ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้แก้ไขเป็น รูปแบบ ดังนี้ - ๕ - ๒) ให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติสามารถสนองงานด้านอื่น ๆ ของคณะสงฆ์ที่ยังไม่ปรากฏในกฎหมาย เช่น งานพระราชพิธี งานพระราชกุศล และพิธีทางพระพุทธศาสนา ฯลฯ การขอพระราชทานผ้าพระกฐิน/ พระปรมาภิไธย/พระนามาภิไธย การเผยแผ่ การสาธารณสงเคราะห์ เป็นต้น ๓) รัฐควรสนับสนุนให้พุทธบริษัทได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ในประเทศอินเดียและเนปาล ๔) ควรมีการจัดตั้งกองทุนสำหรับเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัด และมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โท และเอก ในสาขาวิชาศาสนาและปรัชญา จังหวัดละ ๑ ทุน เป็นประจำทุกปี ข. ผลการสัมมนากลุ่ม กลุ่มที่ ๑ งานกองพุทธศาสนศึกษา ๑) การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม บาลี ควรมีระเบียบที่ชัดเจนในการกำหนดสถานภาพเป็นสถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา และมีระบบการตรวจสอบ พร้อมกันนี้ รัฐควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ เช่นเดียวกับที่จัดให้สถานศึกษาทางโลกทั่ว ๆ ไป ๒) การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา รัฐควรจัดงบประมาณเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เพียงพอเช่นเดียวกับที่จัดสรรให้โรงเรียนการกุศลของวัด รวมทั้งให้มีการกำหนดสถานภาพของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากรที่เป็นคฤหัสถ์ เพื่อให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ ซึ่งจะส่งผลถึงสัมฤทธิผลของผู้เรียน คือ พระภิกษุสามเณรด้วย ๓) การศึกษาธรรมศึกษา ควรมีการจัดตั้งเป็นศูนย์ธรรมศึกษาและขยายให้เพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ ๔) การศึกษาสงเคราะห์ ควรนำงานที่คณะสงฆ์ดำเนินการแต่ได้ถูกแยกไปสังกัดกรมการศาสนาหรือหน่วยงานอื่น มาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพระพุทธ- - ๖ - ศาสนาแห่งชาติ เช่น ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา เป็นต้น รวมทั้งควรสนับสนุนให้มีศูนย์ฝึกวิชาชีพที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยขึ้นในวัด ๕) ควรปรับระบบข้อมูลพระสงฆ์ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติถวาย การอุปถัมภ์ เช่น พระจริยานิเทศก์ พระปริยัตินิเทศก์ ครูสอนปริยัติธรรมอาสา เป็นต้น ให้เป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ ๖) การส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รัฐควรอุดหนุนให้คณะสงฆ์ได้มี คลื่นความถี่สถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์เพื่อเผยแผ่ธรรมะสู่ประชาชน ส่งเสริมให้คณะสงฆ์ไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมการนำชาวต่าง-ประเทศได้เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เพื่อกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศของตน กลุ่มที่ ๒ งานกองพุทธศาสนสถาน ๑) การจัดสรรเงินอุดหนุนบูรณปฏิสังขรณ์วัด ควรมีหลักเกณฑ์จัดสรรตามลำดับความจำเป็นและความสำคัญ โดยจัดสรรให้เพียงพอกับสภาพความเป็นจริง มีเจ้าคณะผู้ปกครองร่วมพิจารณากับเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติด้วย ๒) การก่อสร้างวัดหรือการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ควรให้มีรูปแบบที่เน้นศิลป-วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของไทย ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์โบราณสถานด้วย ๓) ให้มีการจัดตั้งสำนักงานเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะ-ตำบล ๔) ควรมีการจัดตั้งกองทุนวัดช่วยเหลือวัดและพุทธศาสนิกชนประจำจังหวัด ๕) ควรปรับปรุงหรือลดข้อจำกัดต่าง ๆ ในการสร้างวัด - ๗ - กลุ่มที่ ๓ งานสำนักงานพุทธมณฑล ๑) ควรเพิ่มการปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วย มีการจัดทำหลักสูตรการอบรมปฏิบัติธรรม หลักสูตรและสถาบันฝึกสอนเทศน์มหาชาติ และมีการคัดเลือกพระที่เข้ารับการอบรมให้สามารถเป็นต้นแบบเพื่อนำไปขยายผลได้ ๒) การจัดอบรมนักเรียนโดยการเข้าค่าย ควรมีการประสานแจ้งกำหนดการ คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมและหลักสูตรการอบรมให้สถานศึกษาทราบล่วงหน้า ๓) ควรนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริการห้องสมุด มีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อบริการผู้มาใช้ห้องสมุด และเปิดทำการในวันหยุดราชการด้วย และห้องสมุดควรเป็นแหล่งรับบริจาคเอกสารต่าง ๆ ที่เหมาะสม รวมทั้งเป็นแหล่งอนุรักษ์หนังสือโบราณและสิ่งของที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีไทย ๔) ควรจัดให้มีการอนุรักษ์ตำรายาไทย ส่งเสริมการปลูกพืชสวนสมุนไพรในวัด ประสานหาพันธุ์ไม้สมุนไพรและเพาะปลูกเป็นต้นกล้าเพื่อแจกจ่ายไปยังวัดต่าง ๆ ๕) ควรมีเจ้าหน้าที่บรรยายสรุปเกี่ยวกับพุทธมณฑลให้แก่ผู้สนใจ จัดทำป้าย คติธรรมติดตามต้นไม้ในบริเวณพุทธมณฑล กลุ่มที่ ๔ งานสำนักงานศาสนสมบัติ ๑) ควรจัดตั้งสำนักงานศาสนสมบัติเป็นหน่วยงานอิสระ เช่นเดียวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ๒) การจัดประโยชน์ศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธ-ศาสนาแห่งชาติ ส่วนศาสนสมบัติของวัดควรให้วัดดำเนินการเอง โดยมีการแยกบัญชีเงินของวัดให้ชัดเจน ผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ไวยาวัจกรควรมีความรู้ทั้งด้านกฎหมาย และควรมี หลักสูตรเกี่ยวกับระเบียบข้อปฏิบัติในการจัดทำบัญชีของวัดให้ถูกต้อง ๓) ควรมีการก่อตั้งธนาคารของพระพุทธศาสนา ๔) นิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับที่ดินและค่าผาติกรรม ในส่วนกลางให้เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในส่วนภูมิภาคให้เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานพระพุทธ- - ๘ - ศาสนาแห่งชาติประจำจังหวัด ๑ ชุด และให้เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ง-ชาติ อีก ๑ ชุด (จะต้องมีหน่วยงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประจำจังหวัด เพื่อสนองงานดังกล่าวด้วย) กลุ่มที่ ๕ งานสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ๑) ควรมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามมติมหาเถรสมาคม และผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ของมหาเถรสมาคม ๒) การจัดพิมพ์และการจัดส่งหนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ ควรให้รวดเร็ว กว่าที่เป็นอยู่ และควรมีการจัดทำหนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ฉบับรวมเล่ม (ทั้งปี) ด้วย ๓) ควรมีโฆษกของมหาเถรสมาคม ๔) ควรมีการปรับนิตยภัตตำแหน่งต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนเจ้าคณะ-ผู้ปกครองระดับต่าง ๆ ๕) ควรเผยแพร่ให้พระสังฆาธิการและพุทธศาสนิกชนให้ทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการกราบทูลอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชและผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนไปปฏิบัติศาสนกิจ เพื่อความเหมาะสมและให้สมพระเกียรติ ๖) ควรแก้ปัญหาการเดินทางไปต่างประเทศ และควรมีมาตรการคุ้มครอง พระภิกษุที่ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศด้วย ๗) ควรมีระบบการออกหนังสือสุทธิอย่างเคร่งครัดสามารถตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันปัญหาการปลอมบวชเป็นพระ ๘) ควรมีกฎหมายลงโทษผู้กระทำผิดต่อพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง และควรมีหน่วยงานที่ติดตามความเคลื่อนไหวและกลั่นกรองข่าวสารที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ประจำจังหวัดต่าง ๆ ๙) การฝึกอบรมพระสังฆาธิการและบุคลากรทางศาสนา ควรจัดเป็นรุ่น ๆ ตามภารกิจ โดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการ และมีสถาบันหรือหน่วยงานของสำนักงาน- - ๙ - พระพุทธศาสนาแห่งชาติให้การสนับสนุน และควรมีการประสานการอบรมล่วงหน้า ในการอบรมแต่ละครั้ง ทั้งนี้ ข้อคิดเห็นบางประเด็น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการ อยู่แล้ว บางประเด็นได้ตอบให้ที่ประชุมทราบแล้ว และบางประเด็นจะนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อสนองงานคณะสงฆ์ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป ที่ประชุมรับทราบ
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : 254601011901.pdf (358.16 kb)
จำนวนเข้าดู : 1619
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00