• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 23/2553

มติที่ 522/2553

เรื่อง การจัดทำระบบประกันคุณภาพหรือรับรองมาตรฐานสำหรับวัด

ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และที่ประชุมคณะกรรมการกำกับตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการและประเมินผลการปฏิบัติราชการ เห็นควรให้ดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนด คือ ระดับความสำเร็จในการจัดทำระบบประกันคุณภาพ หรือระบบรับรองมาตรฐานสำหรับวัด เพื่อผลักดันให้มีระบบในการดูแลให้วัดมีคุณลักษณะเพื่อสร้างศรัทธาต่อประชาชน และส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระ-พุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง อีกทั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นว่า จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน เกิดความเสื่อมถอยทางศีลธรรม ประชาชนขาดการนำหลักธรรม ในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน บทบาทความสำคัญของวัดและพระสงฆ์ในการที่จะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชนยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่า ที่ควร เพราะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง ซึ่งจะทำให้สถานะความเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจของประชาชนลดลง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการสนองงานคณะสงฆ์และรัฐ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประชาชนเป็น คนดี มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงตน วัดจึงเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการ ที่จะพัฒนาจิตใจของประชาชนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น วัดจึงต้องได้รับการพัฒนาในด้าน-การบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้เหมาะสม กับสภาพพื้นที่ เพื่อสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ การพัฒนาวัดเพื่อให้วัดมีสภาพสะอาด สงบ ร่มรื่น ร่มเย็น มีสภาพความพร้อมที่จะสร้างความสุขด้านจิตใจให้กับประชาชน จึงควรพัฒนาวัดแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับ ภารกิจ ๖ ด้าน ของคณะสงฆ์ โดยระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เป็นการกระตุ้นสร้างจิตสำนึก สร้างความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของวัด เพื่อให้เกิดความหวงแหนและช่วยกันพัฒนาวัด โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมตามหลักการที่ใช้ได้ผลในอดีต คือ บวร (บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ) เข้ามามีส่วนผลักดันในการพัฒนาตลอดจนร่วมกิจกรรมของวัด รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจุดมุ่งหมายให้วัดมีสภาพความเป็นศูนย์กลางชุมชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน ในการนี้ จึงได้จัดทำระบบประกันคุณภาพหรือรับรองมาตรฐานสำหรับวัดขึ้น เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้วัดได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาวัดและจัดกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์แก่ประชาชน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ ที่ประชุมรับทราบ

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : c31-23111053_522.pdf (52.42 kb)

จำนวนเข้าดู : 594

ปรับปรุงล่าสุด : 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 15:33:40

ข้อมูลเมื่อ : 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 15:33:40

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved