• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 09/2555

มติที่ 242/2555

เรื่อง ขอความเห็นชอบการเตรียมงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ พศ ๐๐๐๖/๒๔๐๘ ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ แจ้งว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ที่ประชุมได้พิจารณา จำนวน ๓ เรื่อง คือ ๑. การจัดทำธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เสนอ รูปแบบธงสัญลักษณ์ธงเฉลิมฉลองขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานทางราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ใช้ประดับตกแต่ง ณ สถานที่ราชการ วัดและเคหสถาน โดยมีรูปแบบพร้อมความหมายธงสัญลักษณ์ ดังนี้ ๑. ขนาดของธงสัญลักษณ์เท่ากับขนาดของธงธรรมจักรทั่วไป พื้นธงสีเหลือง ๒. มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี ๓. รูปธรรมจักรมีซี่ จำนวน ๑๒ ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔ ๔. มีชื่องานภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศหรือสถานที่ระดับสากล สามารถสลับที่ระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้ ความหมายของธงสัญลักษณ์ ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมแห่งชนชาติไทยได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ให้อำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติและจะดำรงอยู่คู่ผืนแผ่นดิน-ไทย ชั่วกัลปาวสาน รูปแบบธงสัญลักษณ์ตามรูปภาพที่แนบถวายไว้แล้ว ที่ประชุมได้พิจารณาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบ และความหมายของธงสัญลักษณ์ ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเสนอ โดยมีมติให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอขอความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม ก่อนจะนำ ธงสัญลักษณ์ดังกล่าวไปใช้ประดับตามวัด สถานที่ราชการ องค์กรทางพระพุทธศาสนา และเคหสถาน ๒. การจัดสร้างพระพุทธรูป ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการสร้างพระพุทธรูปปางตรัสรู้ พุทธลักษณะแบบไทย ขนาด หน้าตักกว้าง ๔ เมตร สูง ๗ เมตร พร้อมฐาน จำนวน ๙ องค์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และใช้ประกอบกิจกรรมด้านปฏิบัติบูชา ซึ่งกำหนดให้มีพิธีเททอง ในวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ใช้งบประมาณ ๙๐ ล้านบาท โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง ขอความเมตตานุเคราะห์เจ้าคณะใหญ่หนต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพหลักในการขอรับบริจาคตามกำลังศรัทธาจากวัดและประชาชน โดยให้คณะสงฆ์และประชาชนเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปของแต่ละภูมิภาคตามความเหมาะสม (เช่น ในพุทธมณฑลจังหวัด ที่สาธารณะ เป็นต้น) ๓. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการ- ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ประชุมได้มีมติให้ฝ่ายเลขานุการประสานการดำเนินงานเพื่อให้มีการแต่งตั้งคณะ-อนุกรรมการฯ เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือภารกิจของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ในการนี้ ได้ประสานการดำเนินงานจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการจัดงานฯ ๖ คณะ ประกอบด้วย ๑) คณะอนุกรรมการด้านการศึกษา การเผยแผ่ และปฏิบัติบูชา โดยมี ผู้อำนวยการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธมณฑล เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ รวมที่ปรึกษา ประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ จำนวน ๓๓ รูป/คน ๒) คณะอนุกรรมการดำเนินการจัดงาน ณ สนามหลวง โดยมี ผู้ว่าราชการกรุงเทพ- มหานคร เป็นประธานอนุกรรมการ พันเอกหญิง วโรชา สุทธิรักษ์ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ รวมที่ปรึกษา รองประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ จำนวน ๑๑๘ รูป/คน ๓) คณะอนุกรรมการด้านวิชาการ โดยมี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย เป็นประธานอนุกรรมการ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็น-อนุกรรมการ รวมทั้งรองประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ จำนวน ๑๓๑ รูป/คน ๔) คณะอนุกรรมการดำเนินการด้านกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม โดยมี ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็น-อนุกรรมการและเลขานุการ รวมที่ปรึกษา รองประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ จำนวน ๔๗ รูป/คน ๕) คณะอนุกรรมการดำเนินการด้านการกลั่นกรองรายการขอใช้งบประมาณ โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการกองคลัง สำนักงานปลัดสำนักนายก-รัฐมนตรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งรองประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ จำนวน ๑๔ คน ๖) คณะอนุกรรมการดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ โดยมี นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ เป็นประธานอนุกรรมการ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (ที่ได้รับมอบหมาย) เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งรองประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการ จำนวน ๒๖ คน รายละเอียดตามร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ที่แนบถวายไว้แล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดทำหนังสือเวียนขอความเห็นชอบกรรมการ- มหาเถรสมาคมเป็นรายรูปแล้ว แต่ละรูปไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือเป็นอันเห็นชอบตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ ทั้ง ๓ ข้อ(242/2555)

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : พุทธชยันตี2.pdf (480.78 kb)

จำนวนเข้าดู : 980

ปรับปรุงล่าสุด : 24 เมษายน พ.ศ. 2555 14:56:18

ข้อมูลเมื่อ : 24 เมษายน พ.ศ. 2555 14:56:18

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved