มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 20/2555
มติที่ 488/2555
เรื่อง ขออนุมัติแบ่งเขตปกครองเป็นจังหวัด ในเขตปกครองจังหวัดทางคณะสงฆ์ภาค ๔ - ๕ - ๖ - ๗ (ธรรมยุต)
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๕ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ . เรื่อง ขออนุมัติแบ่งเขตปกครองเป็นจังหวัด ในเขตปกครองจังหวัดทางคณะสงฆ์ ภาค ๔ - ๕ - ๖ - ๗ (ธรรมยุต) เรียน ผู้อำนวยการส่วนกิจการคณะสงฆ์ ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๕ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สมเด็จพระวันรัต ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ได้มีลิขิต ที่ ๑๓๙/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๕ แจ้งตามรายงานของ พระพรหมเมธี เจ้าคณะภาค ๔ - ๕ - ๖ - ๗ (ธรรมยุต) ว่า พระราชสารโมลี เจ้าคณะจังหวัดตาก - อุตรดิตถ์ - พิษณุโลก - สุโขทัย - พิจิตร - กำแพงเพชร (ธรรมยุต) และ พระราชเมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง - แพร่ - น่าน - พะเยา - เชียงราย (ธรรมยุต) ได้รายงานว่า เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดในภาค ๔ - ๕ - ๖ - ๗ (ธรรมยุต) แต่ละจังหวัดมีวัดและที่พักสงฆ์เพิ่มขึ้น มีพื้นที่ดูแลปกครองและระยะการเดินทางกว้างไกล สมควรแบ่งเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดเป็น ๖ จังหวัด เพื่อความสะดวกในการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นไปตามความในข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค และข้อ ๓ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๙) แก้ไขเพิ่มเติมกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ที่กำหนดไว้ว่า จำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคในชั้นจังหวัดนั้น ให้อนุโลมตามจำนวนและเขตบริหารราชการแห่งราชอาณาจักร เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง และการให้บริการของรัฐแก่ประชาชน จึงเสนอแบ่งเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดในภาค ๔ - ๕ - ๖ - ๗ (ธรรมยุต) ออกเป็น ๖ จังหวัด โดยมีเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัด ดังนี้ ๑. จังหวัดกำแพงเพชร - พิจิตร (ธรรมยุต) มีวัดจำนวน ๓๒ วัด คือ ๑. วัดนาควัชรโสภณ ๒. วัดกำแพงเพชร ๓. วัดป่าดอยลับงา ๔. วัดหนองบัว ๕. วัดเขารัตนโชติการาม ๖. วัดยางเลียง ๗. วัดพัฒนานิคม ๘. วัดวังอ้อ ๙. วัดลานดอกไม้ ๑๐. วัดป่าชัยรังสี - ๒ - ๑๑. วัดกรุแก้ว ๑๒. วัดป่าสักขีสามัคคีธรรม ๑๓. วัดทุ่งพัฒนา ๑๔. วัดเขาวังเจ้า ๑๕. วัดเทพมุนีโสภณ ๑๖. วัดโนนสมบูรณ์ ๑๗. วัดป่ารังษีพัฒนาราม ๑๘. วัดถ้ำเขาตะล่อม ๑๙. วัดไพรสณฑ์รัตนาราม ๒๐. วัดหนองน้ำขุ่น ๒๑. วัดป่าเจริญธรรม ๒๒. วัดแสนสุข ๒๓. วัดป่ามณีธรรมโชติ ๒๔. วัดป่าธรรมธารา ๒๕. วัดเด่นสะเดา ๒๖. วัดป่าเขาน้อย และที่พักสงฆ์ จำนวน ๓๒ แห่ง ๒. จังหวัดพิษณุโลก - อุตรดิตถ์ (ธรรมยุต) มีวัดจำนวน ๑๙ วัด คือ ๑. วัดเจดีย์ยอดทอง ๒. วัดป่าเลไลยก์ ๓. วัดนิคมทุ่งสาน ๔. วัดนาตาดี ๕. วัดใหม่อนามัย ๖. วัดบางระกำ ๗. วัดวังดาน ๘. วัดป่าธารทอง ๙. วัดบวรสามัคคี ๑๐. วัดอภัยสุพรรณภูมิ ๑๑. วัดวชิรธรรมวาส ๑๒. วัดป่าศรีถาวร ๑๓. วัดป่าวังสัจจธรรม ๑๔. วัดป่าสมบูรณ์ธรรม ๑๕. วัดเจริญราษฎร์ศรัทธา ๑๖. วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ๑๗. วัดหน้าฝาย ๑๘. วัดปทีปาราม ๑๙. วัดบึงสัมพันธ์ และที่พักสงฆ์ จำนวน ๒๘ แห่ง ๓. จังหวัดสุโขทัย - ตาก (ธรรมยุต) มีวัดจำนวน ๑๕ วัด คือ ๑. วัดบุญประดับ ๒. วัดป่าบนเนิน ๓. วัดเขานกยูง ๔. วัดสิริมานนท์ ๕. วัดเด่นดีหมี ๖. วัดป่าชนะสงคราม ๗. วัดลำโชคใต้ ๘. วัดสีตลาราม ๙. วัดดอยเจดีย์ ๑๐. วัดถ้ำดอยลาน ๑๑. วัดป่าพระสามเงา ๑๒. วัดถ้ำอินทรนินท์ ๑๓. วัดหนองน้ำเขียว ๑๔. วัดป่าขะเนจื้อ ๑๕. วัดป่ารวมไทยสามัคคีธรรม และที่พักสงฆ์ จำนวน ๔๗ แห่ง - ๓ - ๔. จังหวัดลำปาง - แพร่ (ธรรมยุต) มีวัดจำนวน ๒๔ วัด คือ ๑. วัดเชตวัน ๒. วัดสามัคคีบุญญาราม ๓. วัดถ้ำพระสบาย ๔. วัดป่าเพิ่มพูล ๕. วัดเวียงสวรรค์ ๖. วัดถ้ำอินทร์เนรมิต ๗. วัดพระพุทธบาทปู่ผาแดง ๘. วัดทุ่งขาม ๙. วัดสันติสุข ๑๐. วัดถ้ำขุมทรัพย์ ๑๑. วัดสันตินิคม ๑๒. วัดชัยมงคลธรรมวราราม ๑๓. วัดป่าสำราญนิวาส ๑๔. วัดศิลาวารี ๑๕. วัดถ้ำสุขเกษมสวรรค์ ๑๖. วัดป่าสันติสุขสามัคคี ๑๗. วัดจำทรายมูล ๑๘. วัดม่อนหินขาว ๑๙. วัดบุญรักษา ๒๐. วัดแพร่ธรรมาราม ๒๑. วัดแม่จั๊วะธรรมาราม ๒๒. วัดเวฬุวัน ๒๓. วัดป่าเวียงทอง ๒๔. วัดป่าวัฒนาราม และที่พักสงฆ์ จำนวน ๓๑ แห่ง ๕. จังหวัดพะเยา - น่าน (ธรรมยุต) มีวัดจำนวน ๑๗ วัด คือ ๑. วัดรัตนวนาราม ๒. วัดอารามป่าน้อย ๓. วัดอนาลโยทิพยาราม ๔. วัดป่าดอยหลวง ๕. วัดศรีอุดมธรรม ๖. วัดนาเจริญ ๗. วัดถ้ำบุญนาค ๘. วัดป่าแดงสามัคคี ๙. วัดพระธาตุศรีชุม ๑๐. วัดเกษมสันติวนาราม ๑๑. วัดเสาหิน ๑๒. วัดเทพวราราม ๑๓. วัดถ้ำเทพนิมิต ๑๔. วัดศรีเมืองชุม ๑๕. วัดสันป่าแดงธรรมาราม ๑๖. วัดเขาน้อยเทสรังสี ๑๗. วัดป่าศรีถาวรวังตาว และที่พักสงฆ์ จำนวน ๒๗ แห่ง ๖. จังหวัดเชียงราย (ธรรมยุต) มีวัดจำนวน ๒๕ วัด คือ ๑. วัดเม็งรายมหาราช ๒. วัดภูมิพาราราม ๓. วัดป่าหัวดอย ๔. วัดป่ามหามงคล ๕. วัดพระธาตุกู่แก้วดอยงาม ๖. วัดเชื้อเจ็ดตน ๗. วัดพระพุทธบาทผาเรือ ๘. วัดพระธาตุศรีโยนก - ๔ - ๙. วัดพระธาตุบรรพต ๑๐. วัดสันติคีรีญาณสังวราราม ๑๑. วัดป่าบ้านเหล่า ๑๒. วัดดอยน้ำตกพัฒนา ๑๓. วัดดอยธรรมาราม ๑๔. วัดป่าอรัญวิเวก ๑๕. วัดจำปา ๑๖. วัดถ้ำผาจรุย ๑๗. วัดป่าวังศิลา ๑๘. วัดเขาวงมหาวัน ๑๙. วัดเทิงเสาหิน ๒๐. วัดป่าศรีวิไลย์ ๒๑. วัดสันติอุดมธรรม ๒๒. วัดสันติวนาราม ๒๓. วัดหลวงราษฎร์เจริญธรรม ๒๔. วัดพระเจ้าหลวง ๒๕. วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง และที่พักสงฆ์ จำนวน ๓๘ แห่ง การเสนอแบ่งเขตปกครองเป็นจังหวัด ในเขตปกครองจังหวัดทางคณะสงฆ์ภาค ๔ - ๕ - ๖ - ๗ (ธรรมยุต) ดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค และข้อ ๓ แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๙) แก้ไขเพิ่มเติมกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค โดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการเจ้าสังกัดตามลำดับจนถึงผู้รักษา-การแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตแล้ว พร้อมกับมีบัญชาให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติอนุมัติ และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงาน การประชุม จึงเรียนมาเพื่อดำเนินการต่อไป
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : c18-20100955_488.pdf (110.77 kb)
จำนวนเข้าดู : 1853
ปรับปรุงล่าสุด : 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 14:48:12
ข้อมูลเมื่อ : 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 14:48:12