มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 27/2545
มติที่ 440/2545
เรื่อง รายนามวัดไทยและพระภิกษุไทยในประเทศสิงคโปร์
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๗/๒๕๔๕ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ..... เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการที่สนองงานคณะสงฆ์ ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๗/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๕ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูปส่วนราชการ โดยได้มีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการระดับกระทรวง/ทบวง จาก ๑๔ กระทรวง/ทบวงเป็น ๒๐ กระทรวง/ทบวง และหน่วยงานระดับกรม/สำนัก/สำนักงาน จาก ๑๓๖ กรม/สำนัก/สำนักงาน เป็น ๑๔๒ กรม/สำนัก/สำนักงาน ดังเป็นที่ทราบแล้ว นั้น ในส่วนราชการที่รับสนองงานคณะสงฆ์ ก็ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการ ใหม่ด้วย คือ ๑. ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๗ กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรมมีส่วนราชการ ดังนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการศาสนา (๔) กรมศิลปากร (๕) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (๖) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มาตรา ๔๖ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มีดังต่อไปนี้ - ๒ - (๑) สำนักราชเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ (๒) สำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการพระราชวัง ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ (๓) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการ พระพุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนา และดูแลรักษาศาสนสมบัติ ตามกฎหมาย ว่าด้วยคณะสงฆ์ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๔) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมา มาจากพระราชดำริ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๕) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการ วิจัย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๖) ราชบัณฑิตยสถาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และ เผยแพร่ทางวิชาการ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๗) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบ เรียบร้อย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๘) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะกรรมการธุรกรรม และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๙) สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗) มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี - ๓ - ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง (๘) และ (๙) มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชา ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ๒. ตามพระราชกฤษฎีกา ได้แก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๘ ในพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธ- ศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ ให้แก้ไขคำว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็น นายก รัฐมนตรี คำว่า อธิบดีกรมการศาสนา เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และคำว่า กรมการศาสนา เป็น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มาตรา ๔๒ ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้แก้ไขคำว่า กระทรวงศึกษาธิการ และ กรมการศาสนา เป็น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คำว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็น นายกรัฐมนตรี และคำว่า อธิบดีกรมการศาสนา เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มาตรา ๘๕ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคำว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็น นายกรัฐมนตรี และ คำว่า อธิบดีกรมการศาสนา เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มาตรา ๘๖ ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้แก้ไขคำว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็น นายกรัฐมนตรี และคำว่า อธิบดีกรมการศาสนา เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๓. ตามกฎกระทรวง ได้แบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาต ดังนี้ ข้อ ๑ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงาน สนองงานคณะสงฆ์และรัฐ โดยการทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแลรักษาจัดการศาสนสมบัติ พัฒนา - ๔ - พุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการ กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (๒) รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการ บริหารการปกครองคณะสงฆ์ (๓) เสนอแนวทางการกำหนดนโยบาย และมาตรการในการคุ้มครอง พระพุทธศาสนา (๔) ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทาง พระพุทธศาสนา (๕) ดูแลรักษา และจัดการวัดร้างและศาสนสมบัติกลาง (๖) พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา (๗) ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม (๘) ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ สำนักงานหรือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๒ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ (๑) กองกลาง (๒) กองพุทธศาสนศึกษา (๓) กองพุทธศาสนสถาน (๔) สำนักงานพุทธมณฑล (๕) สำนักงานศาสนสมบัติ (๖) สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ฯลฯ - ๕ - ๔. ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๑ ให้กรมการศาสนามีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุง ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง ตลอดจนส่งเสริม พัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดี และสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ทำนุบำรุง ส่งเสริมเพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม (๒) เสริมสร้างศีลธรรม ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม (๓) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์ รวมทั้ง กฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) ส่งเสริม ดูแล รักษาและทำนุบำรุงศาสนสถาน และศาสนวัตถุ (๕) ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง และสนับสนุนการดำเนินการขององค์การศาสนา (๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ข้อ ๒ ให้แบ่งส่วนราชการกรมการศาสนา ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานเลขานุการกรม (๒) กองศาสนูปถัมภ์ (๓) สำนักพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ฯลฯ - ๖ - ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะตั้งอยู่ที่อาคารกรมการศาสนาเดิม ภายในบริเวณกระทรวงศึกษาธิการ และจะได้นมัสการให้เจ้าคณะพระสังฆาธิการทราบโดยทั่วกัน ที่ประชุมรับทราบ
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF00192551_00099.pdf (71.13 kb)
จำนวนเข้าดู : 1285
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00