• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 21/2557

มติที่ 472/2557

เรื่อง โครงการปลูกป่าพะยูง เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เฉลิมพระเกียรติฯ

ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สำนักงานโครงการปลูกป่าพะยูง เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เฉลิมพระเกียรติฯ ได้มีหนังสือ ที่ พิเศษ ๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๗ แจ้งว่า ต้นพยุงหรือพะยูง เป็นต้นไม้ที่มีสีสันสวยงาม ชาวไทยนิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ไม้ถือ และแกะสลักสิ่งประดิษฐ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ มีคุณภาพดี จึงเป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นคนไทยยังเชื่อถือกันมาแต่โบราณว่า ต้นพะยูงเป็นต้นไม้มงคล บ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้ประจำบ้านจะทำให้บ้านและผู้อยู่อาศัยมีความเจริญมั่นคง สมกับชื่อต้นไม้ ด้วยเหตุนี้ ไม้พะยูงจึงเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุด ปัจจุบันต้นพะยูงนี้ยังมีเหลืออยู่แห่งเดียวในประเทศไทย และสามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย ในอดีต การลักลอบตัดต้นไม้ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นต้นไม้สักหรือต้นกฤษณา แต่ในระยะ ๔ - ๕ ปี ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ไม้พะยูงเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อในประเทศแถบเอเชีย เช่น ประเทศจีน และเวียดนาม เป็นต้น เพราะฉะนั้น ต้นพะยูงจึงเป็นต้นไม้ที่ถูกลักลอบตัดมากที่สุด แม้ในเขตวนอุทยานและในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งการตัดต้นไม้ทำลายป่าดังกล่าว นอกจากจะเป็นการทำลายระบบต้นน้ำ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังถือเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศในด้านการทำลายระบบนิเวศน์เป็นอันมาก เรื่องนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่าว่า ทำให้ต้นน้ำลำธารได้รับความเสียหายเป็นอันมาก ด้วยเหตุนี้ พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร ประธานโครงการฯ และคณะทำงาน จึงได้ร่วมกันจัดทำ “โครงการปลูกป่าพะยูง เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์” โดยจะร่วมกันส่งเสริมให้หมู่บ้าน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการ ปลูกต้นพะยูงในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ในที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ สำนักสงฆ์ ศาสนสถาน และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ เพราะเห็นว่าการปลูกป่าจะเอื้อประโยชน์อย่างมหาศาล เพิ่มความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถลดความรุนแรงของภัยพิบัติจากไฟป่า ภาวะโลกร้อน และน้ำท่วม เป็นต้น ทำให้เกิดการประสานงาน สร้างการมีส่วนร่วมและปลูกจิตสำนึกในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ และ ชุมชน (บวร) โดยการปฏิบัติดังนี้ คือ ๑. สนองนโยบายภาครัฐ ในการจัดกิจกรรมปลูกป่าภายใต้ “โครงการปลูกป่าพะยูง เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์” ๒. พื้นที่ปลูกป่าพะยูง กำหนดใช้พื้นที่วัด ศาสนสถาน โรงเรียน สถานที่ราชการ และป่า เสื่อมโทรมทั่วประเทศ ใน ๕ ภาค คือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ถึงสิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ๓. แรงงาน จะใช้แรงงานคนในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการจ้างงาน การมีส่วนร่วม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ รัก หวงแหน และจะได้ช่วยกันดูแลรักษาป่าที่ได้ปลูกร่วมกัน โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะได้จัดเจ้าหน้าที่ประจำแปลง ให้คำแนะนำในการปลูกและดำเนินงาน พร้อมบำรุงรักษาป่าที่ปลูกต่อเนื่องภายหลังการปลูกอีก ๒ ปี ก่อนส่งมอบให้หมู่บ้าน วัด ศาสนสถาน และราชการ ดูแลต่อไป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ๔. โครงการต่อเนื่องต่าง ๆ อาทิ การอบรมเยาวชนและประชาชนอาสาสมัครปลูกป่า พร้อมกับบำรุงรักษาต้นไม้ และการพิทักษ์รักษาป่า เป็นต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรักษาสภาพแวดล้อมที่สวยงามอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการโครงการฯ มีกุศลเจตนาแน่วแน่และมุ่งมั่นที่จะร่วมกันดำเนินโครงการฯดังกล่าว อย่างต่อเนื่อง โดยปรารถนาให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ในด้านชีวภาพของปวงชนชาวไทย ตลอดถึงสรรพสัตว์ที่อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยสืบไปชั่วกาลนาน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ และให้งานเพื่อแทนคุณแผ่นดินดังกล่าวนี้บรรลุวัตถุประสงค์ คณะกรรมการโครงการฯ ได้ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำเสนอมหาเถร-สมาคมเพื่อขอความเห็นชอบ ดังนี้ ๑. อาราธนาสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานอุปถัมภ์โครงการฯ ฝ่ายบรรพชิต ๒. อาราธนากรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูป เป็นกรรมการอุปถัมภ์โครงการฯ ฝ่ายบรรพชิต ๓. ขอผู้แทนมหาเถรสมาคมหนึ่งรูป เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ฝ่ายบรรพชิต ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบ และมอบพระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ฝ่ายบรรพชิต และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : c7-21300957_472.pdf (440.24 kb)

จำนวนเข้าดู : 710

ปรับปรุงล่าสุด : 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 09:37:36

ข้อมูลเมื่อ : 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 09:37:36

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved