• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 25/2560

มติที่ 592/2560

เรื่อง การพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด

ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๙/๒๕๕๙ เรื่อง มาตรการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ โดยมอบหมายให้สำนักงาน-พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการกำหนดมาตรการกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้จ่ายเงินบริจาคของทุกศาสนาให้ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการบริจาค เพื่อป้องกันการนำเงินดังกล่าวไปใช้ หรือสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม หรืออาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุบประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โดยกำหนด “ตัวชี้วัดที่ ๓ ความสำเร็จของการพัฒนาระบบการรายงานทางการเงินของวัด” ประกอบด้วย ๒ ตัวชี้วัดย่อย คือ ตัวชี้วัดที่ ๓.๑ ร้อยละของวัดที่มีข้อมูลรายงานบัญชีรายรับ - รายจ่าย ซึ่งกำหนดให้ทุกวัดจัดส่งรายงานบัญชีรายรับ - รายจ่าย ประจำปี ๒๕๖๐ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ร้อยละ ๑๐๐) มีเป้าหมายจำนวนวัดรวมทั้งสิ้น ๔๐,๕๓๘ วัด ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ ความสำเร็จของการพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด ซึ่งวัดความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด ๗ ขั้นตอน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามตัวชี้วัดดังกล่าวแล้ว สรุปผลการดำเนินการ ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ ๓.๑ ร้อยละของวัดที่มีข้อมูลรายงานบัญชีรายรับ - รายจ่าย การรวบรวมรายงานการเงินของวัด ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ในการชี้แจงรูปแบบรายงานติดตาม และรวบรวมข้อมูลตามแบบ “สรุปบัญชีรายรับ - รายจ่ายของวัด” จากวัดภายในจังหวัด และจัดทำแบบสรุปรายชื่อวัดที่ส่งรายงานการเงินส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อสรุปและรายงาน ก.พ.ร. ภายในเดือน สิงหาคม ๒๕๖๐ ปรากฏว่า ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ มีวัดส่งรายงานการเงินได้ตามกำหนดเวลา จำนวน ๒๘,๐๕๗ วัด คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๒๑ ต่ำกว่าเป้าหมาย สาเหตุหนึ่งเกิดจากหลายจังหวัดประสบปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก จึงเป็นอุปสรรคในการจัดทำรายงานการเงินของวัดและการรวบรวมข้อมูลของสำนักงาน-พระพุทธศาสนาจังหวัด และหลังจากส่งรายงาน ก.พ.ร. มีวัดส่งรายงานเพิ่มเติม ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ รวมจำนวนวัดที่ส่งรายงานการเงินทั้งสิ้น ๒๙,๕๓๖ วัด คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๘๖ ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ ความสำเร็จของการพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด มีแผนการดำเนินงาน ๗ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. ศึกษารูปแบบบัญชีข้อมูลรายรับ - รายจ่ายของวัดที่ส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานของวัด ๒. ศึกษารูปแบบบัญชีและรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด ๓. ยกร่างระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด เพื่อดำเนินการศึกษารูปแบบบัญชี และจัดทำร่างระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ประชุมหารือร่วมกัน และพิจารณากำหนดรูปแบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด จำนวน ๖ แบบ ประกอบด้วย ๓.๑ สมุดเงินสดรับ - จ่ายประจำวัน ใช้สำหรับบันทึกรายการรับ - จ่าย เงินสดรวมทั้งเอกสารแทนตัวเงิน (เช็ค) ๓.๒ สมุดเงินฝากธนาคาร ใช้สำหรับบันทึกรายการรับ - จ่าย เงินฝากธนาคาร ๓.๓ สมุดแยกประเภทรายรับ ใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดการรับเงินสดและเงินฝากธนาคาร จำแนกตามประเภทรายรับ ซึ่งวัดสามารถกำหนดประเภทของรายรับให้สอดคล้องกับกิจกรรมของวัดแต่ละวัดได้ ทั้งนี้ ประเภทรายรับที่สำคัญและควรกำหนดให้มีทุกวัด คือ “รายรับเงินบริจาค” ๓.๔ สมุดแยกประเภทรายจ่าย ใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดการจ่ายเงินสดและเงินฝากธนาคาร จำแนกตามประเภทรายจ่าย ๓.๕ งบรายรับ- รายจ่าย สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕.... ใช้สำหรับประมวลผลรวมรายรับและรายจ่าย จากแบบฟอร์ม ข้อ ๓.๓ และ ๓.๔ มาสรุปผล แสดงยอดรายรับและรายจ่ายในแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นในรอบปี ๓.๖ รายงานเงินคงเหลือ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕.... ใช้สำหรับแสดงยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารที่คงเหลือ ณ วันที่ระบุในรายงานเงินคงเหลือ ๔. คัดเลือกวัดดาวดึงษาราม พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิสามัญ เขตบางพลัด กรุงเทพ-มหานคร เป็นวัดนำร่อง ทดลองจัดทำบัญชีตามรูปแบบที่กำหนดใหม่ ๕. เสนอร่างระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัดและวัดนำร่อง จำนวน ๑ วัด ต่อผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ๖. ถวายคำแนะนำการจัดทำบัญชีตามรูปแบบที่กำหนดใหม่แก่วัดที่ได้รับคัดเลือกเพื่อให้วัดจัดทำบัญชีตามระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด ๗. นำเสนอร่างระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด พร้อมผลการจัดทำบัญชีตามระบบบัญชีมาตรฐานของวัดนำร่อง ต่อมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณา อนึ่ง สำหรับวัดดาวดึงษาราม ซึ่งเป็นวัดนำร่อง จัดเป็นวัดขนาดกลางที่มีปริมาณข้อมูลและรายการที่ต้องบันทึกและประมวลผลค่อนข้างมาก แต่วัดมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และบุคลากรในการจัดทำบัญชีในระดับดีมาก สามารถจัดทำบัญชีตามรูปแบบใหม่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ ที่ประชุมรับทราบ และให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดทำคู่มือปฏิบัติการจัดทำรายรับ - รายจ่าย

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : c_25101060_592 การพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัด.pdf (522.55 kb)

จำนวนเข้าดู : 2171

ปรับปรุงล่าสุด : 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 09:57:53

ข้อมูลเมื่อ : 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 09:57:53

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved