• หน้าหลัก
  • มหาเถรสมาคม
    • เกี่ยวกับมหาเถรสมาคม
    • อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม
    • กองงานในสังกัดมหาเถรสมาคม
    • คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของมหาเถรสมาคม
    • การประชุมมหาเถรสมาคม
    • กรรมการมหาเถรสมาคม
    • มหาเถรสมาคมกับการปกครองคณะสงฆ์
  • สำนักเลขาธิการฯ
    • เกี่ยวกับสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่
    • กลุ่มงานภายใน
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • อัตรากำลังของสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • บุคลากรสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - ผู้บริหาร
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานในสมเด็จพระสังฆราช
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มงานมหาเถรสมาคม
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มกิจการคณะสงฆ์
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา
    • ทำเนียบเจ้าหน้าที่สำนักฯ - สถาบันพระสังฆาธิการ
    • ข้อมูลการติดต่อสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  • มติมหาเถรสมาคม
  • สรุปการประชุม
  • ข่าวสาร
  • ติดต่อ

มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 17/2557

มติที่ 387/2557

เรื่อง การอนุรักษ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง

ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า โดยเห็นว่า ปัจจุบันบรรดาสัตว์ป่ามีจำนวนลดลงมากบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ สาเหตุนอกเหนือจากธรรมชาติที่ทำให้สัตว์ชนิดต่าง ๆ สูญพันธุ์แล้ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ แบ่งออกได้หลายประการคือ การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ การล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารและใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น การล่าช้างเพื่อเอางามาทำเครื่องประดับ การล่ากวาง แรด และเลียงผา เพื่อนำเอาเนื้อหนัง เขา นอ มาทำยารักษาโรค เครื่องประดับ และเพื่อการค้า ซึ่งสร้างความร่ำรวยโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ระยะยาว จนสัตว์เหล่านี้ลดจำนวนลงอย่างมากและรวดเร็ว การกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการ เช่น การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงโดยไม่มีคู่ ทำให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ สิ่งสำคัญก็คือการเลี้ยงสัตว์โดยที่ไม่ได้ศึกษาถึงชีววิทยาของสัตว์เหล่านั้นมาดีพอ ทำให้เลี้ยงไม่รอด ประชาชนจึงไม่ควรซื้อสัตว์ป่ามาเลี้ยง ทั้งนี้ เป็นการป้องกันและยุติการนำสัตว์ป่ามาขาย การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต้องเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกระดับ ให้เข้าใจถึงชีววิทยาและสภาพแวดล้อมของสัตว์ จึงต้องมีวิธีการป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่าดังนี้ ๑. การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง ๒. ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวน สัตว์คุ้มครอง ๓. ปลูกฝังการให้ความรักและเมตตาต่อสัตว์อย่างถูกวิธี สัตว์ป่าทุกชนิดมีความรักชีวิตเหมือนกับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นการทรมานสัตว์ป่า ในการนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงขอความร่วมมือวัดไม่นำซากของสัตว์ป่า หมายถึง เขา หนัง กระดูก ฟัน งา ขนาย นอ ขน เกล็ด เล็บ กระดอง เปลือก หรือส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่า มาทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้ เนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้มีการทำลายชีวิต รวมทั้งเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิด ๆ และให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติมอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแจ้งเจ้าคณะภาคเพื่อแจ้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง ๒ ฝ่าย เพื่อแจ้งวัดในเขตปกครองทราบและถือปฏิบัติตามมติมหาเถรสมาคมต่อไป

เอกสารประกอบเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ 1 : c23-17200857_387 การอนุรักษ์สัตว์ป่าสงวน สัตว์คุ้มครอง.pdf (222.91 kb)

จำนวนเข้าดู : 896

ปรับปรุงล่าสุด : 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561 10:32:54

ข้อมูลเมื่อ : 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561 10:32:54

 
 
Tweet  
 

มหาเถรสมาคม

อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ พุทธมณฑล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ : 02 441 7992
สำหรับเจ้าหน้าที่เว็บไซต์

© Copyright 2025 มหาเถรสมาคม All Rights Reserved