มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 12/2545
มติที่ 165/2545
เรื่อง การพิจารณาเอกสารของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๕ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ เรื่อง การพิจารณาเอกสารของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๕ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๕ ที่ประชุมได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓๔/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๔ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้จัดส่งเอกสารต่าง ๆ จำนวน ๔ เล่ม ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับภัยของพระพุทธศาสนา ถวายที่ประชุมเพื่อโปรดพิจารณา ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วลงมติให้นำเอกสารมอบให้คณะกรรมการความ- มั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาพิจารณา และในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓๕/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ พระราชกวี เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้นำเอกสารว่าด้วยนโยบายปกป้องพระพุทธศาสนาและแนวทางปฏิบัติตามเอกสารที่ได้ถวายไว้แล้วเพื่อโปรดพิจารณา ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติมอบให้คณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนารับไปพิจารณารวมกับเอกสารที่ได้มอบให้แล้ว ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๓๔/๒๕๔๔ แล้วนำเสนอมหาเถรสมาคม โดยคณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาได้ประชุมพิจารณาแล้ว รวม ๔ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ และครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๕ /พระพรหมมุนี .. - ๒ - พระพรหมมุนี ประธานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา ได้มอบให้กรมการศาสนานำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณาตามที่คณะกรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาได้ประชุมพิจารณาจากเอกสารต่าง ๆ แล้ว สรุปได้ ๒ ประเด็น คือ ๑. ปัญหาเกิดจากปัจจัยภายนอก ๒. ปัญหาเกิดจากปัจจัยภายใน และได้เสนอแนวทางแก้ไขมาพร้อมนี้แล้ว คือ ๑. ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ๑.๑ การลอกเลียนหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ๑.๒ การลอกเลียนพิธีกรรม เช่น การบอกบุญทอดผ้าป่า เป็นต้น ๑.๓ การใช้คำศัพท์พ้องกับศัพท์ของพระพุทธศาสนา เช่น พระสังฆราช สังฆมณฑล เป็นต้น ๑.๔ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา ทำให้พระพุทธ- ศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ลดความสำคัญลงไป อีกทั้งกำหนดให้บุคลากรที่มิใช่พุทธศาสนิกชนเข้ามาควบคุมดูแลและบริหารกิจการทางพระพุทธศาสนา ๑.๕ กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติ ๑.๖ การจงใจของสื่อสารมวลชนบางประเภทที่เสนอข่าวสารใน ด้านลบของพระสงฆ์ให้ปรากฏแพร่หลายต่อสาธารณชน แนวทางแก้ไข ๑. ขอความร่วมมือจากองค์การทางศาสนาต่าง ๆ ให้ใช้ถ้อยคำ พิธีกรรม และหลักธรรมคำสอนที่เหมาะสมกับความนิยมในศาสนาลัทธิและนิกายของตน โดยไม่ควรนำถ้อยคำ พิธีกรรม และหลักธรรมคำสอนของศาสนาหนึ่งไปใช้เรียกใน อีกศาสนาหนึ่ง - ๓ - ๒. ขอให้ออกเป็นกฎหมายเพื่อสงวนคำศัพท์ที่เป็นของพระพุทธศาสนา ๓. ขอให้รัฐบาลและสภานิติบัญญัติช่วยแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดย บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ๔. แจ้งข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบตามความเป็นจริง ๒. ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายใน ๒.๑ เกิดจากชาวพุทธ ที่ทำตัวเป็นผู้รับใช้ศาสนาอื่น ด้วยการนำเอาวัฒนธรรมของต่างชาติมาเผยแพร่ เพื่อหวังได้มาซึ่งตำแหน่งหน้าที่ และสินจ้างรางวัล ๒.๒ ชาวพุทธขาดความเป็นเอกภาพ มิได้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในการช่วยเหลือป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา ๒.๓ ผู้มีความรู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ที่ประชาชนให้ความนับถือเขียน บทความให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยการใส่ร้ายพระเถระผู้ใหญ่ เป็นต้น ๒.๔ พระภิกษุสามเณรบางรูปไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย และไม่เคารพยำเกรงพระเถระผู้ใหญ่ในหมู่สงฆ์ แนวทางแก้ไข ๑. ปลูกจิตสำนึกของชาวพุทธ ให้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่จะต้องปกป้องคุ้มครอง รักษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนา และรักษาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ๒. สร้างความเป็นเอกภาพ และความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นแก่ชาวพุทธ ด้วยกันแล้วรวมพลังปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป ๓. ให้วัดทุกวัด และพุทธศาสนิกชนร่วมมือกันเผยแผ่หลักธรรม คำสอนพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ถ้าเกิดปัญหาความไม่เข้าใจเกี่ยวกับ หลักธรรมในเรื่องใด ๆ ให้ผู้มีความรู้และเป็นผู้ที่ประชาชนเคารพศรัทธาเป็นผู้อธิบายและชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง ๔. กวดขันให้พระภิกษุสามเณรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ๕. ป้องกันอันตรายที่จะก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อพระพุทธศาสนา - ๔ - ๖. ให้เจ้าคณะผู้ปกครองยึดหลักการบริหารที่เป็นแนวทางเพื่อความ มั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา ๖ ประการ คือ การปกครอง การศาสนศึกษา การศึกษา-สงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติให้เลื่อนการพิจารณาไปในคราวหน้า และให้นัดประชุมพิเศษ โดยให้กรมการศาสนามีหนังสืออาราธนากรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาเข้าร่วมประชุมด้วย บัดนี้ กรมการศาสนาได้อาราธนากรรมการความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เข้าร่วมประชุมตามมติดังกล่าวแล้ว ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติว่า เพื่อแก้ปัญหาตามที่คณะกรรมการความ ความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาพิจารณาแล้ว ให้กรมการศาสนาดำเนินการจดทะเบียนเว็บไซต์ในนามของสำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF02982551_00192.pdf (150.53 kb)
จำนวนเข้าดู : 1355
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00