มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ 23/2547
มติที่ 410/2547
เรื่อง รายงานสรุปกรณีการคัดค้านการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๓/๒๕๔๗ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ .............................................................. เรื่อง รายงานสรุปกรณีการคัดค้านการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๒๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ถวายรายงานเกี่ยวกับการชุมนุมคัดค้านการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชและคัดค้านคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่-สมเด็จพระสังฆราช โดย นายทองก้อน วงษ์สมุทร และคณะ รวมทั้งพระภิกษุอีก ๑ กลุ่ม โดยใช้ชื่อว่า คณะสงฆ์ไทย เสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคม เพื่อโปรดทราบมาโดยตลอด นั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขอสรุปเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต ดังนี้ ๑. เรื่องเดิมเกิดขึ้นตั้งแต่กรณีมีการปลด นายบัณฑูร ล่ำซำ ผู้จัดการและประธานมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ จากตำแหน่ง และได้มีการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม ให้สืบสวนในทางลับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อสืบสวนกรณีที่เชื่อว่า จะมีการปลอมแปลงเอกสารของมูลนิธิฯ รวม ๖ รายการ และได้มีการสืบสวนอย่างต่อเนื่องมาโดยลำดับ จนในที่สุด วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕ กองพิสูจน์หลักฐานได้ออกรายงานที่ ๑๐๐๑/๒๕๔๕ ลงความเห็นว่า ลายพระนามของสมเด็จพระสังฆราช ในเอกสารทั้ง ๖ รายการนั้น ไม่ใช่ลายพระนามของสมเด็จพระสังฆราชฯ แต่อย่างใด ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ นายเรวัตร อุปพงศ์ และ นายสิทธิโชค ศรีสุคนธ์ ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหา ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม โดยทั้ง ๒ คนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และให้การพาดพิงถึงพระราชาคณะรูปหนึ่ง และในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ พระราชรัตนมงคล ได้เดินทางมาที่สถานีตำรวจพญาไท เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาดังกล่าวด้วย - ๒ - ๒. ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๖ ได้มีพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชเสนอแต่งตั้งพระราชรัตนมงคล เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ถึงผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเพื่อนำเสนอมหาเถรสมาคมทราบ แต่ พระเทพสารเวที เลขานุการของสมเด็จพระสังฆราช ได้มีลิขิตขอพระลิขิตฉบับดังกล่าวคืนไป และได้เป็นข่าวปรากฏทางสื่อมวลชนและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยทั่วไป ถึงความไม่เหมาะสมต่าง ๆ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียพระเกียรติยศของสมเด็จพระสังฆราช และเกิดความสับสนในหมู่ชาวพุทธเป็นอย่างยิ่ง ๓. รัฐบาล โดย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้นำเรื่องนี้ชี้แจงต่อคณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร ว่า ขณะที่สมเด็จพระสังฆราชประชวร เห็นควรมีผู้ปฏิบัติหน้าที่-สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็มิได้คัดค้าน รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอมหาเถรสมาคม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๗ ซึ่งมหาเถรสมาคมได้ลงมติให้นำมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาใช้ ๔. รัฐบาลได้อาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๓ ประกาศตามมติ-มหาเถรสมาคมซึ่งลงมติให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยมีสมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จพระราชาคณะ รวม ๕ รูป เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีเงื่อนไขเวลาภายใน ๖ เดือน หรือเมื่อสมเด็จพระสังฆราชทรงหายจากอาการประชวรและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ๕. มีขบวนการคัดค้านมติของมหาเถรสมาคมและการประกาศดังกล่าว และคัดค้านการใช้พระตราสมเด็จพระสังฆราช โดยกลุ่ม นายทองก้อน วงษ์สมุทร และกลุ่มพระภิกษุกลุ่มหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อว่า คณะสงฆ์ไทย (ซึ่งได้มีการคัดค้านหลายครั้งหลายหนตั้งแต่การยกร่างพระราชบัญญัติ-คณะสงฆ์ พ.ศ. ) โดยเรียกร้องในประเด็นหลัก คือ การคืนพระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จ-พระสังฆราช ให้พระมหากษัตริย์ และคัดค้านการแต่งตั้ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่-สมเด็จพระสังฆราช ดำเนินการประกาศให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ต้องอาบัติทางวินัยและกฎหมายคณะสงฆ์ มีประเด็นหลักกล่าวหา คือ ๕.๑ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก้าวก่ายการปกครองของคณะสงฆ์ มีการล่ารายชื่อเพื่อถอดถอนจากตำแหน่ง (ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว) - ๓ - ๕.๒ ให้ร้ายและกล่าวจาบจ้วง สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ ขณะนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ยังเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ตามกฎหมาย ๖. เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะที่สมเด็จพระสังฆราชยังไม่หายจากอาการประชวร และวาระการแต่งตั้ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สิ้นสุดลง โดยมีทางเลือก ๒ ประการ คือ แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเพียงรูปเดียว หรือเลือกคณะ-ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ได้ลงมติเลือกคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะ ๗ รูป มี สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ-พระสังฆราช ก็ได้มีขบวนการเดิมคัดค้านมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว โดยอ้างเหตุการณ์ว่า สมเด็จ-พระสังฆราช ยังทรงปกติอยู่ มีประเด็นหลัก คือ ๖.๑ คัดค้านสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยอ้างว่า มีความผิดทางพระวินัยและกฎหมายคณะสงฆ์ โดยกล่าวหาว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ต้องอธิกรณ์ตั้งแต่ต้น จึงไม่สมควรที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ๖.๒ ให้คืนพระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช แก่พระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ ได้มีการก่อกวนและกล่าวโจมตีมหาเถรสมาคมเกือบทุกครั้งที่มีการประชุมมหาเถรสมาคม ที่ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของกรรมการ-มหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงต้องอาราธนากรรมการมหาเถรสมาคมมาประชุมที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เพื่อความสะดวกในการถวายการอารักขา จนถึงปัจจุบัน ๗. มีการนำเอาพระภิกษุไม่กี่รูปมายื่นหนังสือถึงกรรมการมหาเถรสมาคม เพื่อให้ตอบข้อสงสัย แล้วไปออกแถลงการณ์ในที่ต่าง ๆ ทั้งในสื่อเว็บไซต์ โจมตีมหาเถรสมาคมโดยประการต่าง ๆ นับเป็นการไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เพราะมหาเถรสมาคมถือเป็นองค์กรสูงสุดตามกฎหมายของคณะสงฆ์ คณะสงฆ์ไทยต้องอยู่ในการปกครองของมหาเถรสมาคมตามลำดับชั้นที่กฎหมายกำหนด การไม่ยอมรับมติมหาเถรสมาคมก็เท่ากับเป็นการแสดงตนว่าไม่อยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม จึงไม่ถือว่า เป็นคณะสงฆ์ไทย ตามกฎหมาย - ๔ - ในการนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการ คือ ๑. กรณีพระภิกษุ ได้มีหนังสือนมัสการเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาคพิจารณาดำเนินการตามลำดับ เนื่องจากเป็นการไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัยและกฎหมาย โดยการจาบจ้วงพระมหาเถระที่มีอายุพรรษามากกว่า ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นความผิดทางวินัย และการไม่เชื่อฟังเจ้าคณะผู้ปกครอง ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายคณะสงฆ์ การยื่นหนังสือต่อมหาเถรสมาคมโดยตรง พร้อมทั้งคาดคั้นให้มหาเถรสมาคมตอบคำถามที่ตนต้องการ เมื่อไม่ได้รับคำตอบ ก็อาศัยเหตุนี้นำไปสู่การโจมตีมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นการกระทำที่วิญญูชนหรือคนปกติไม่พึงปฏิบัติ ขณะนี้ กำลังรอผลการดำเนินการของเจ้าคณะผู้ปกครองอยู่ ๒. กรณีคฤหัสถ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มอบให้กลุ่มนิติการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร เพียงใด แต่ได้มีผู้ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ง. เช่น ประธานคณะกรรมาธิการ-การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร (นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล) เป็นต้น ให้ตรวจสอบทรัพย์สินของกลุ่มผู้ที่ดำเนินการคัดค้านนี้ด้วย ทั้งนี้ นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้มีหนังสือแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้นำกรณีที่ พระธรรมวิสุทธิมงคล เจ้าอาวาสวัดป่าเกสรศีลคุณ และพระลูกวัด แสดงธรรมกล่าวโจมตีบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย เช่น กล่าวโจมตีคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น ว่าเป็นการผิดจริยาพระสังฆาธิการหรือไม่ อย่างไร ๗. ได้มีการออกแถลงการณ์คัดค้านมติมหาเถรสมาคมที่แต่งตั้ง พลตำรวจโท อุดม เจริญ เป็นที่ปรึกษาของมหาเถรสมาคม โดยกล่าวหาหลายประการ รวมทั้งมีการส่งหนังสือไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา โดยกล่าวอ้างเหตุผลต่าง ๆ และให้ลงมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ในการที่ประชาชนเรียกร้องให้การปฏิบัติต่อสมเด็จพระสังฆราชในทุกกรณี ขอถวายเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น /อนึ่ง ขณะนี้ ได้เริ่มมีการทวงถาม ... - ๕ - อนึ่ง ขณะนี้ ได้เริ่มมีการทวงถามเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่คณะ-กรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาอยู่ และคาดว่าจะมีการทวงถามทั้งในทางเอกสาร และการรวมกลุ่มเรียกร้องให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์อีกด้วย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ ที่ประชุมรับทราบ พลตำรวจโท (อุดม เจริญ)
เอกสารประกอบเพิ่มเติม
เอกสารประกอบ 1 : CCF00492551_00096.pdf (222.93 kb)
จำนวนเข้าดู : 2525
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 08:00:00